Page 35 -
P. 35
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. สมบัติทั่วไปของดินในพื้นที่ปลูกมังคุด 3 จังหวัด
จากการสำรวจเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร พบว่า ดินที่
ปลูกมังคุดส่วนใหญ่มีความเป็นกรด โดยดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช มี pH อยู่ในช่วง 4.1-5.0 ปริมาณ
อินทรียวัตถุในดินต่ำมาก (0.5 เปอร์เซ็นต์) ถึงปานกลาง (1.8 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากดินในพื้นที่ปลูกมังคุด
ดังกล่าวส่วนใหญ่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนเหนียวปนทราย (Table 4) ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำโดย
ธรรมชาติ สำหรับดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 4.0-4.6 พบ
อินทรียวัตถุในดินต่ำในช่วง 0.8-1.7 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงร่วนเหนียวปนทราย (Table 5) ส่วนดินในพื้นที่
ปลูกมังคุดในจังหวัดชุมพร มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 4.2-4.7 มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ 0.8-1.5
เปอร์เซ็นต์ เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหนียว (Table 6) นอกจากนี้ยังพบว่าดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในจังหวัด
นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีและชุมพร มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินและโพแทสเซียมในดินต่ำ
สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ/คำแนะนำ
ปริมาณโลหะหนักในดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร พบมีการปนเปื้อน
ของแคดเมียมในดินต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้พึงมีในดินทำการเกษตรของกลุ่มสมาพันธ์ยุโรป แต่เมื่อเทียบกับ
ระดับเกณฑ์พื้นฐานของแคดเมียมในดินของประเทศไทย (0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) พบว่าแคดเมียมในดินปลูกมังคุดใน
บางสวนของทั้ง 3 จังหวัดที่สำรวจ มีค่าเกินระดับเกณฑ์พื้นฐานของแคดเมียมในดินของประเทศไทย ซึ่งระดับเกณฑ์
พื้นฐานดังกล่าวเป็นระดับความเข้มข้นที่นำมาใช้เพื่อประเมินการปนเปื้อนระยะแรก และระดับเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ถึง
อันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังจำเป็นต้องตรวจสอบต่อไปว่า การปนเปื้อนที่เกิดจากความเข้มข้นระดับนั้น เกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมต่างๆของมนุษย์หรือไม่ หรือทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนุษย์หรือไม่
นอกจากนี้ยังพบว่าในบางแปลงตรวจพบการปนเปื้อนของแคดเมียมในผลผลิตสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด
โดยเฉพาะมังคุดที่เก็บจากอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจเนื่องมาจากดินที่ปลูกมังคุดในพื้นที่ดังกล่าว
มีปฏิกิริยาดินเป็นกรด มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ จึงเป็นปัจจัยส่งเสริมการละลายของแคดเมียมออกสู่สารละลายดิน
ทำให้พืชดูดซึมแคดเมียมเข้าไปสะสมในส่วนที่บริโภคได้ ดังนั้นในการแก้ไขเบื้องต้นควรใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อ
ยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น และลดการละลายของแคดเมียมออกสู่สารละลายดิน และควรมีการคัดแยกผลผลิตมังคุดใน
สวนที่ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนของแคดเมียมก่อนส่งเข้าสู่ตลาด หรือสุ่มตรวจผลผลิตมังคุดในพื้นที่ดังกล่าวทุกครั้งก่อน
ที่ขายผลผลิตสู่ท้องตลาด
การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของปริมาณโลหะหนักในดินในพื้นที่การเกษตรของประเทศ ตลอดจน
เป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมเนื่องจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก ตลอดจนวางแผนในการติดตาม
ตรวจสอบและเฝ้าระวังในพื้นที่มีความเสี่ยง เพื่อการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักในดินและผลิตผลของพืช
ต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุน ยืนยันต่อผู้บริโภคว่าผลิตผลมังคุดที่ผลิตจากแหล่งดังกล่าวมีความ
ปลอดภัยต่อการบริโภค
27