Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(>3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ทั้งนี้เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช ในอดีตมีการทำเหมืองแร่ดีบุก
พลวง ทังสเตน เฟลด์สปาร์ ฟลูออไรด์ และ ยิปซั่ม จึงอาจมีการแพร่กระจายของโลหะหนักสู่พื้นที่บริเวณใกล้เหมือง
(สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, 2556)
ดังนั้นการศึกษาเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักในดินในพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ
ย่อมเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัยของการผลิตพืชอาหารของประเทศไทย ทั้งเพื่อการบริโภคภายในและการค้าขายกับ
ต่างประเทศ นอกจากนี้หากผลการศึกษาบ่งชี้ว่าพื้นที่ทำการเกษตรใด มีปริมาณของโลหะหนักสูงผิดปกติ ย่อมแสดงว่า
พื้นที่ทำการเกษตรนั้นอาจมีมีการปนเปื้อนของโลหะหนักเกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำมาบริหาร
จัดการ และหาวิธีการจัดการ ควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของโลหะหนักไปสู่บริเวณใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีดำเนินการ
อุปกรณ์
1. อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน เช่น ท่อเจาะดินสแตนเลส พลั่วมือสแตนเลส ค้อนทองแดง ถุงพลาสติก
ถังพลาสติก และ จอบ เป็นต้น
2. อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างพืช เช่น ถุงกระดาษ ถุงตาข่าย เป็นต้น
3. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เครื่องแก้ว สารเคมีสำหรับวิเคราะห์ดินและพืช เช่น สารละลายมาตรฐานฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู กรดไนตริก กรดเปอร์คลอริก
แก๊สอาร์กอน แก๊สไนโตรเจน และ แก๊สอะเซทีลีน เป็นต้น
วิธีการ
1. ดำเนินการสำรวจเก็บตัวอย่างดินและมังคุดในพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช โดยสุ่ม
เก็บตัวอย่างดินในสวนมังคุดของเกษตรกรแต่ละรายพร้อมเก็บตัวอย่างผลผลิตมังคุด เก็บดินที่ระดับความลึก 0-20 และ
20-50 เซนติเมตร ต้นละ 4 จุด (6-8 ต้น/แปลง) ตามแนว 4 ทิศหลัก รวบรวมดินที่เก็บตามระดับความลึก รวมเป็น 2
ตัวอย่าง/แปลง บันทึกพิกัดตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างโดยใช้ Global Positioning System (GPS)
2. วิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน เช่น ความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ใช้อัตราส่วนดินต่อน้ำ เท่ากับ 1:1
(Rayment and Higginson, 1992) คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที และ วัด pH ด้วยเครื่อง pH meter แบบ
Glass electrode ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ด้วยวิธี Walkley and Black (Nelson and Sommers, 1982) ย่อยดิน
ด้วยกรด H 2SO 4 เข้มข้น และ 1N K 2Cr 2O 7 ไตเตรทด้วยสารละลาย 0.5 N ammonium ferrous sulfate ปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน สกัดดินด้วยนำยา Bray II (0.03N NH 4F+0.1N HCl) วัดปริมาณฟอสฟอรัสที่สกัดได้ โดย
ทำให้เกิดสีตามวิธี molybdenum blue (Watanabe and Olsen, 1965) วัดความเข้มของสีเทียบกับสารละลาย
มาตรฐานด้วยเครื่อง UV spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 882 นาโนเมตร ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และ
แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ สกัดดินด้วย 1N NH 4OAc, pH 7 ส่วนทองแดง สังกะสี เหล็กและแมงกานีสที่เป็นประโยชน์
ในดิน สกัดดินด้วยน้ำยา DTPA pH 7.3 (กลุ่มงานวิจัยเคมีดิน, 2544) วิเคราะห์ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม
แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี เหล็ก และแมงกานีส ด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma Optical Emission
Spectrometer (ICP-OES, Perkin Elmer Optima 5300 DV) เทียบกับสารละลายมาตรฐาน
3. วิเคราะห์โลหะหนักในดิน ย่อยตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ด้วยวิธี
aqua regia (3:1 HCl : HNO 3) ในหลอดย่อยตัวอย่างแบบเปิด (McGrath and Cunliffe, 1985) วัดความเข้มข้นของ
โลหะหนักเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma -
Optical Emission Spectrometry (ICP-OES, Perkin Elmer Optima 5300 DV)
4. วิเคราะห์โลหะหนักในมังคุด ย่อยตัวอย่างเนื้อมังคุดสดด้วยกรดผสม HCl : HNO 3 (Zarcinas and
Cartwright, 1983) โดยชั่งตัวอย่าง 0.5xxx กรัม เติมกรดไนตริกเข้มข้น 5 มิลลิตร และย่อยตัวอย่างที่อุณหภูมิไม่เกิน 140
องศาเซลเซียส จนได้สารละลายใส วัดความเข้มข้นของตะกั่วและแคดเมียม เปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบ
22