Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความเข้มข้นที่แน่นอนด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma - Optical Emission Spectrometry (ICP-OES,
Perkin Elmer Optima 5300 DV)
5. การควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์เพื่อลดการปนเปื้อน เครื่องแก้วและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์แช่ในกรด
ไฮโดรคลอริกเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ ค้างคืน จากนั้นล้างด้วยน้ำกลั่นและอบแห้งในตู้อบ ก่อนนำไปใช้ เพื่อประเมินค่า
ความแม่นยำของการวิเคราะห์ ในชุดการวิเคราะห์เดียวกันโดยย่อย reagent blanks 2 ซ้ำ ตัวอย่างพืชอ้างอิง 2 ซ้ำ และ
ตัวอย่างดินอ้างอิง 2 ซ้ำ และในการวิเคราะห์ตัวอย่างดินและพืชทำ 2 ซ้ำ
6. การประเมินระดับการปนเปื้อนของแคดเมียมในดิน นำข้อมูลจากผลวิเคราะห์มาประเมินระดับการปนเปื้อน
ของแคดเมียม โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้พึงมีในดินเพื่อการเกษตรและในพืช (Maximum Allowable
Concentration, MAC) เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดขอบเขตและจัดทำพื้นที่ระดับความเสี่ยง (ระดับต่ำ ปานกลาง และสูง)
โดยใช้แผนที่ดินเป็นแผนที่ฐาน และใช้ GIS ช่วยในการจัดทำขอบเขตพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมาตราส่วนในการทำแผนที่ขึ้นอยู่กับ
ขอบเขตในการเก็บตัวอย่างในแต่ละจังหวัด (จำนวนจุดที่เก็บตัวอย่าง)
ระยะเวลา เริ่มต้น เดือนตุลาคม 2560 สิ้นสุด เดือนกันยายน 2562
สถานที่ทำการทดลอง กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
แปลงมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร
ผลการทดลองและวิจารณ์
โดยทั่วไปโลหะหนักในดินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ โลหะหนักกลุ่มที่เป็นธาตุอาหารพืช (Plant nutrient metals
group) ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่พืชต้องการในปริมาณน้อย ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสี
โดยธรรมชาติเหล็กและแมงกานีสในดินมีปริมาณสูงและมีการกระจายตัวกว้างมาก จึงไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในดินไว้
ส่วนทองแดง และสังกะสีในดิน กลุ่มสมาพันธ์ยุโรปกำหนดค่ามาตรฐานไว้ที่ 100 และ 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ตามลำดับ ส่วนอีกกลุ่มเป็น โลหะหนักกลุ่มที่เป็นธาตุพิษ (Toxic metals group) เช่น แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ปรอท
โครเมียม และนิเกิล เป็นต้น ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่แล้วในดิน ดังนั้นพืชจะดูดขึ้นไปสะสมในต้นมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณที่
ละลายได้ในดิน ถ้าพืชดูดขึ้นไปสะสมในส่วนของผลผลิตสูง จะทำให้ผลผลิตของพืชนั้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยกลุ่ม
สมาพันธ์ยุโรปกำหนดค่ามาตรฐานของ แคดเมียม และตะกั่ว ในดินไว้ที่ คือ 1-3 และ 100-300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
ตามลำดับ (CEC, 1993)
1. การปนเปื้อนของแคดเมียมในดินปลูกมังคุดและผลผลิตมังคุด ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
จากผลวิเคราะห์ดินในพื้นที่ปลูกมังคุดในในพื้นที่อำเภอท่าศาลา อำเภอนบพิตำ อำเภอลานสลา และอำเภอพรหม
คีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าปริมาณแคดเมียมในดินมีค่าตั้งแต่ไม่สามารถตรวจพบจนถึง 0.63 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
(Table 1) ซึ่งปริมาณที่ตรวจพบดังกล่าวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของแคดเมียม (1-3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ที่อนุญาตให้พึงมี
ในดินทำการเกษตรของกลุ่มสมาพันธ์ยุโรป (CEC, 1993) แต่เมื่อเทียบกับระดับเกณฑ์พื้นฐานของแคดเมียมในดินของ
ประเทศไทยที่กำหนดไว้ที่ 0.15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Zarcinas et al., 2004) พบว่า 46 เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่างดินที่
สำรวจมีค่าการปนเปื้อนของแคดเมียมสูงกว่าระดับเกณฑ์พื้นฐานดังกล่าว (Table 1 และ Figure 1) ทั้งนี้ระดับเกณฑ์
พื้นฐานเป็นระดับความเข้มข้นที่นำมาใช้เพื่อประเมินการปนเปื้อนระยะแรก ซึ่งระดับเหล่านี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงอันตรายที่อาจ
เกิดขึ้น แต่เป็นระดับความเข้มข้นที่ต้องนำมาตรวจสอบต่อไปว่า การปนเปื้อนที่เกิดจากความเข้มข้นระดับนั้นเกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมต่างๆของมนุษย์หรือไม่ หรือทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ
มนุษย์หรือไม่ ส่วนการปนเปื้อนของแคดเมียมในเนื้อมังคุดสด พบระหว่าง 0.008-0.09 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Table 1 และ
Figure 2) ซึ่งเกินมาตรฐาน (0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) จำนวน 1 ตัวอย่าง
23