Page 48 -
P. 48

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                 46                        Thai J. For. 35 (1) : 45-61 (2016)



                                                      บทคัดย่อ


                        ท�าการศึกษาปริมาณการร่วงหล่นของซากพืชของสังคมพืชได้จากด�าเนินการฟื้นฟูพื้นที่มีระบบนิเวศ

                 ป่าไม้เสื่อมโทรมที่มีอายุประมาณ 15 ปี ในพื้นที่อ�าเภอแม่เมาะ จังหวัดล�าปาง คือ การบูรณะให้เกิดผลผลิตใหม่ (forest
                 reclamation) ที่เหมืองแม่เมาะ การฟื้นฟูผลผลิต (forest rehabilitation) ที่สวนป่าแม่เมาะ และการฟื้นฟูระบบนิเวศ (forest
                 restoration) ที่แปลงปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ (FPT7) ต�าบลจางเหนือ โดยวางแปลงตัวอย่างในป่าทั้ง 3 พื้นที่ พื้นที่ละ

                 3 แปลง โดยใช้แปลงตัวอย่างขนาด 40×20 เมตร แบ่งแปลงย่อยขนาด 10×10 เมตร ติดตั้งกระบะรองรับซากพืช (litter trap)
                 ขนาด 1 × 1 เมตร สูงจากพื้นดิน 1 เมตร มีตาข่ายรองรับซากพืชลึก 0.7 เมตร ที่บริเวณกลางแปลงย่อยทุกแปลง ท�าการ

                 เก็บข้อมูลปริมาณการร่วงหล่นของเศษซากพืชโดยแยกเป็นปริมาณส่วนต่างๆ คือ ใบ กิ่ง เปลือก ส่วนสืบพันธุ์ และอื่นๆ
                 ของทุกเดือนที่ด�าเนินการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 12 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ไปจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555
                        ผลการศึกษาพบว่าสังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการท�าเหมืองแร่ (เหมืองแม่เมาะ) มีปริมาณการ

                 ร่วงหล่นของซากพืชสูงสุด ประมาณ 8.43 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี รองลงมาคือ สังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูระบบนิเวศ
                 (ป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ) ประมาณ 7.99 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี และน้อยที่สุดคือ สังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูแบบเพิ่ม

                 ผลผลิต (สวนป่าแม่เมาะ) ประมาณ 5.12 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี โดยปริมาณผลผลิตซากพืชรวมรายเดือนของแต่ละสังคม
                 พืช มีแนวโน้มผันแปรไปตามปริมาณผลผลิตซากพืชส่วนที่เป็นใบ ปริมาณผลผลิตซากพืชมีความสัมพันธ์ในทาง
                 ตรงกันข้ามกับปริมาณน�้าฝน อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ พบว่า จ�านวนชนิดพันธุ์ที่พบ

                 ความสูงของไม้ พื้นที่หน้าตัดของไม้ ความหนาแน่นของไม้ และปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน มีความสัมพันธ์ใน
                 ทิศทางเดียวกันกับปริมาณผลผลิตซากพืช พบว่าปริมาณซากพืชรายปีนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ

                 โดยส่วนใหญ่แล้วสังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการท�าเหมืองแร่ (เหมืองแม่เมาะ) จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ
                 สังคมพืชที่ได้จากการฟื้นฟูระบบนิเวศ (ป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ) เนื่องจากความหนาแน่นของไม้และปริมาณมวล
                 ชีวภาพเหนือพื้นดินที่มีค่าใกล้เคียงกันของทั้งสองสังคม


                 ค�ำส�ำคัญ: การบูรณะให้เกิดผลผลิตใหม่ การฟื้นฟูผลผลิต การฟื้นฟูระบบนิเวศ


                                 ค�ำน�ำ                      นิเวศทั้งระบบในพื้นที่ ที่ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

                        ป่าเขตร้อนนั้นเป็นสังคมพืชที่ความหลาก  ต่างๆ อันส่งผลกระทบต่อมนุษย์ (Harris, 2012) ดังนั้น

                 หลายของชนิดพันธุ์และมีโครงสร้างของระบบนิเวศ  การเร่งฟื้นฟูระบบป่าเสื่อมโทรมนั้นจึงมีความส�าคัญ
                 ที่ซับซ้อนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (Ashton, 1964;   มากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง ซึ่งระดับ

                 Hubbell and Foster, 1985; Whitmore, 1990; Ashton and   ความเสื่อมโทรมของป่าในแต่ละพื้นที่นั้นแตกต่างกัน
                 Hall, 1992; Gentry, 1992; Philips and Gentry, 1994 and   ออกไป ดังนั้นการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้จึงสามารถแบ่ง
                 Condit et al., 1996) ในปัจจุบัน การใช้ทรัพยากรป่าไม้  ระดับของการฟื้นฟูป่าได้ 3 ระดับ คือ การบูรณะให้เกิด
                 ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง  ผลผลิตใหม่ (Forest Reclamation) เป็นการฟื้นฟูป่าใน

                 เป็นสาเหตุส�าคัญที่ท�าให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อระบบ  พื้นที่เสื่อมโทรมมากๆ จนพืชพรรณดั้งเดิมไม่สามารถ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53