Page 42 -
P. 42
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40 Thai J. For. 34 (1) : 39-47 (2015)
method and P. macrocarpus was not suitable for this pelleting method and direct seeding. However,
pelleting technique was not clearly effect to increase germination and growth significantly in
some species, so this technique should be studied more in near future.
Keywords: germination, survival, growth, seed pelleting, forest rehabilitation
บทคัดย่อ
การทดลองการพอกเมล็ดไม้ 4 ชนิด เพื่อใช้ในการฟื้นฟูป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงผลของการพอก
เมล็ดที่มีต่อการงอก การรอดตาย และการเติบโต ของเมล็ดไม้ 4 ชนิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด 4 ซ�้า 2 วิธี
คือ เมล็ดที่พอก และเมล็ดที่ไม่พอก 4 ชนิดไม้ คือ พฤกษ์ ถ่อน นนทรีป่า และประดู่ป่า ในเรือนเพาะช�า ผลการศึกษา
พบว่า ชนิดที่มีการงอกสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอก คือ ถ่อน และนนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 24.0 และ 72.0
ตามล�าดับ การรอดตายสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอก คือ ถ่อน และนนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 100.0 ส่วนเมล็ดที่ไม่พอก
คือ นนทรีป่า เท่ากับร้อยละ 94.50 การเติบโตทางเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดินเฉลี่ยสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอก
และไม่พอกคือ พฤกษ์ ซึ่งมีค่าเท่ากันเท่ากับ 0.24 เซนติเมตร การเติบโตทางความสูงเฉลี่ยสูงสุดที่เกิดจากเมล็ดที่พอก
และไม่พอกคือ ถ่อน และพฤกษ์ เท่ากับ 13.78 และ 11.84 เซนติเมตร ตามล�าดับ มวลชีวภาพเหนือพื้นดินสูงสุดที่เกิด
จากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ พฤกษ์ เท่ากับ 0.83 และ 0.82 กรัมต่อต้น ตามล�าดับ และมวลชีวภาพใต้พื้นดินสูงสุด
ที่เกิดจากเมล็ดที่พอกและไม่พอกคือ พฤกษ์ ซึ่งมีค่าเท่ากันเท่ากับ 0.47 กรัมต่อต้น เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของ
เมล็ดที่พอกกับเมล็ดที่ไม่พอกโดยวิธี t-test พบว่าการพอกเมล็ดมีผลให้การงอกของนนทรีป่าและประดู่ป่าลดลงอย่าง
มีนัยส�าคัญยิ่ง (p<0.01) การพอกเมล็ดมีผลให้การรอดตายของพฤกษ์ ถ่อน และนนทรีป่า มากขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญยิ่ง
(p<0.01) และการพอกเมล็ดมีผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับชิดดิน ความสูง มวลชีวภาพเหนือพื้นดินและมวล
ชีวภาพใต้พื้นดินของถ่อน มากขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญยิ่ง (p<0.01)
จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ถ่อน และพฤกษ์ เป็นชนิดไม้ที่มีความเป็นไปได้ในการใช้เทคนิค
การพอกเมล็ดวิธีการนี้ก่อนน�าไปปลูกฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ในขณะที่นนทรีป่านั้นไม่เหมาะสมกับการพอกเมล็ดวิธีนี้
ส่วนประดู่ป่าไม่เหมาะสมกับการพอกเมล็ดวิธีการนี้และการปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง อย่างไรก็ตาม การพอกเมล็ดยังมี
ผลต่อการเพิ่มปริมาณการงอกของเมล็ดและการเติบโตภายหลังการงอกไม่ชัดเจนในบางชนิด ดังนั้นจึงต้องการการศึกษา
เพิ่มเติมให้มากขึ้นในอนาคต
ค�าส�าคัญ: การงอก การรอดตาย การเติบโต เมล็ดไม้ที่พอก การฟื้นฟูป่า
ค�าน�า ที่ต้องกระท�า อาทิเช่น การปลูกฟื้นฟูป่าธรรมชาติที่ถูก
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ ท�าลาย การสร้างมาตรการเพื่อการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภาย
ของประเทศไทยในปัจจุบันยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องทั้ง หลังการท�าเหมือง (Department of Primary Industries
เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัย and Mines, 2007) เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้
รวมถึงอุตสาหกรรมการท�าเหมืองแร่ในภาคเอกชนซึ่ง เดิม โดยการปลูกฟื้นฟูป่าซึ่งเป็นการสร้างพื้นที่ป่าที่
เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ระบบนิเวศเดิม การ ถูกท�าลายให้มีสภาพใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าที่เคยมีอยู่เดิม
ฟื้นฟูให้ระบบนิเวศป่าไม้กลับคืนมาดังเดิมจึงสิ่งจ�าเป็น ให้มากที่สุด (Elliott, 2000) ปัจจุบันเลือกใช้กล้าไม้