Page 283 -
P. 283

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           264       Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          1.  บทน า


                 มีนักวิจัยจ านวนมากจากหลายแขนงวิชาทั้งนิติวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา รวมทั้ง
          ภาษาศาสตร์ที่สนใจและพยายามหาวิธีจ าแนกค าพูดโกหกออกจากค าพูดจริง ใน
          ปัจจุบันมีหลักการ ทฤษฎี และเครื่องมือถูกคิดค้นออกมาไม่น้อย เครื่องมือที่ได้รับ
          การยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดเครื่องมือหนึ่งคือ Statement Validity Analysis

          (SVA) ที่พัฒนาขึ้นจากงานด้านนิติจิตวิทยาในประเทศสวีเดนโดย Arne Trankell และ
          ในประเทศเยอรมันนีโดย Udo Undeutsch ซึ่งทั้งสองเป็นผู้บุกเบิกงานด้านจิตวิทยา
          กับการสืบพยานสมัยใหม่ โดยจุดมุ่งหมายแรกมีขึ้นเพื่อพิสูจน์ความจริงเท็จในค าให้การ
          ของเด็กที่เป็นเหยื่อในคดีทารุณกรรมทางเพศซึ่งมักเป็นคดีที่ไม่มีพยานรู้เห็นนอกจาก
          เหยื่อเพียงคนเดียว และต่อมาจึงมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกระทั่งขยายการใช้ไปสู่
          คดีทั่วไปอย่างกว้างขวางขึ้น ขณะที่งานด้านนี้ในประเทศไทยยังอยู่ในวงจ ากัด การค้นคว้า

          วิจัยและสร้างเครื่องมือขึ้นใช้จึงเป็นเรื่องจ าเป็น

                 เครื่องมือ Statement Validity Analysis (SVA) ที่ว่านี้ประกอบไปด้วย
          แบบทดสอบหลายส่วน ทั้งที่เป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยา กลวิธีส าหรับเจ้าหน้าที่ใช้
          สืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัยและพยานต่างๆ รวมทั้งแบบการประเมินและพิจารณาทาง
          คลินิก (Clinical judgment) ทั้งนี้หัวใจของเครื่องมือชิ้นนี้คือ Criteria-Based Content
          Analysis (CBCA) ซึ่งเป็นชุดรายการตัวบ่งชี้ส าหรับการพิจารณาวัจนภาษาที่เกิดจาก
          สมมติฐานของ Undeutsch ที่ว่า ค ำให้กำรที่มำจำกประสบกำรณ์ที่ได้พำนพบด้วยตำ

          ตนเองนั้นย่อมมีควำมต่ำงจำกค ำให้กำรที่ถูกแต่งขึ้น ตามสมมติฐานนี้ท าให้เกิดการศึกษา
          ความแตกต่างของลักษณะทางภาษาเปรียบเทียบกันระหว่างค าให้การจริงและค าให้การ
          เท็จทั้งในระดับค าและปริจเฉทอย่างกว้างขวางมากขึ้น

                 หนึ่งในเกณฑ์ที่มีการถกเถียงและน าไปสู่ประเด็นศึกษาในบทความนี้คือ
          เกณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่อง พฤติกรรมที่แสดงออกถึงความทรงจ าที่บกพร่อง (admitting
          lack of memory) ที่เชื่อว่า ‘ในค ำให้กำรที่น่ำเชื่อถือนั้น พยำนจะพูดออกตัวว่ำตรงไหน
          ที่ตนจ ำไม่ได้ และมักจะก ำกับบำงส่วนของเหตุกำรณ์ที่ตนคิดว่ำไม่มั่นใจด้วยหน่วยถ้อย
          ชุดหนึ่ง ความน่าสนใจคือลักษณะดังกล่าวขัดแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมของการโกหก
   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288