Page 285 -
P. 285

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           266       Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          2.  ค าแสดงความลังเลไม่มั่นใจ


                 จากการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่ารูปภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจซึ่ง
          สะท้อนว่าผู้พูดมีความจ าที่บกพร่องหรือขาดความมั่นใจนั้นสัมพันธ์กับความจริงเท็จ
          ของค าพูด การใช้รูปภาษาที่ว่านี้เป็นกลวิธีหนึ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการใช้
          รูปภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจ (hesitation) Clark and Fox Tree (2002) กล่าวถึง

          การใช้รูปภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจนี้ว่า ถูกใช้เพื่อสื่อเจตนาความลังเลใจต่อสิ่งที่
          ผู้พูดก าลังอ้างถึงส่งไปยังผู้ฟังนอกเหนือไปจากใจความหลักของสาร ซึ่งหากละรูปภาษา
          แสดงความลังเลนี้ไป ใจความหลักของสารก็จะยังคงอยู่เช่นเดิม กลวิธีทางภาษาเมื่อ
          ผู้พูดไม่มีความมั่นใจหรือลังเลในสิ่งที่ตนก าลังพูดถึงที่ว่านี้ ประกอบไปด้วยการใช้
          ช่วงเงียบ (silent pauses) การใช้ค าแสดงช่วงหยุด (fillers/filled pause) การพูดซ ้า
          (repeating word) การปรากฏของค าเพื่อแสดงความต้องการแก้ไขสิ่งที่ตนพูดผิด

          (speech repair) การขึ้นต้นหน่วยถ้อยผิด (false start) การลากเสียงค าในหน่วยถ้อย
          (lengthening) รวมไปถึงการใช้รูปภาษาก ากับเพื่อแสดงความลังเลไม่มั่นใจ (verbal
          hedge) ซึ่งรูปภาษาที่ว่านี้พบว่าส่วนใหญ่เป็นค าบ่งชี้ทัศนภาวะ (modality) Palmer
          (2001) ได้กล่าวถึงค าบ่งชี้ทัศนภาวะไว้ว่าเป็นรูปภาษาที่ท าหน้าที่แสดงความตั้งใจ
          หรือเจตนาบางประการของผู้พูด ในทางภาษาศาสตร์สามารถจ าแนกออกเป็น 2 มิติ

          ส าคัญได้แก่ทัศนภาวะปริพัทธ (deontic modality) ซึ่งเกี่ยวกับภาวะหน้าที่ การอนุญาต
          และการสั่งห้าม และทัศนภาวะสัญชาน (epistemic modality) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความ
          แน่นอนหรือความสงสัย ความเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ (Cruse, 2006) ขณะที่การ
          จ าแนกค าตามหน้าที่ของนววรรณ พันธุเมธา (2549) จัดอยู่ในหมวดค ำขยำย คือมี
          หน้าที่ช่วยขยายค าหลักและค าขยายด้วยกันเองเพื่อให้มีความหมายชัดเจนขึ้น อยู่ใน
          ประเภทย่อยคือ ค ำบอกควำมเห็น ซึ่งประกอบไปด้วยค าแสดงความเห็นของผู้พูดใน

          หลายกรณี เช่น แสดงความเชื่อมั่น แสดงความเป็นธรรมดา แสดงความเป็นไปได้
          ส าหรับรูปภาษาที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ รูปภาษาที่แสดงถึงความลังเลไม่มั่นใจ ดังนั้น
          ค าบ่งชี้ทัศนภาวะประเภทที่มีหน้าที่บ่งชี้ความไม่มั่นใจของผู้พูดต่อเรื่องที่ก าลังพูดถึง
          หรือค าขยายบอกความเห็นประเภทบ่งชี้การคาดคะเนจึงเป็นรูปภาษาของปรากฏการณ์

          ที่มีการใช้ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจ (hesitation) นั่นเอง
   280   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290