Page 287 -
P. 287
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
268 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจในภาษาไทย
จากรูปภาษาที่มีคุณสมบัติทางความหมายเพื่อสะท้อนเจตนาของผู้พูดที่
เป็นความลังเลไม่มั่นใจ รูปภาษานี้จะสามารถตัดออกจากประโยคได้โดยไม่ท าให้
ความหมายหลักของประโยคนั้นๆ เสียไป ดังนั้นตัวบ่งชี้นี้จึงมีต าแหน่งการปรากฏ
ร่วมกับกริยาหลักของภาคแสดงของหน่วยถ้อยหนึ่งๆ เช่น
คิดว่าพวกเขาอาจจะเป็นสามีภรรยากัน
ใจความหลักของหน่วยถ้อยนี้คือ พวกเขำเป็นสำมีภรรยำกัน โดยมีกริยาหลักคือ เป็น
แต่การปรากฏของ คิดว่ำ และ อำจจะ แสดงให้เห็นว่าผู้พูดไม่ได้มั่นใจข้อมูลนี้ หรือไม่
ต้องการยืนยันว่าเขาสองคนมีความสัมพันธ์ดังที่กล่าวเช่นนั้นจริงๆ
ดังนั้นในภาษาไทย รูปภาษาที่แสดงความลังเลไม่มั่นใจจึงได้แก่ค าจ าพวก
น่ำจะ คงจะ อำจจะ คิดว่ำ เป็นต้น รวมทั้งหน่วยเติมเต็ม (fillers) เช่น เอ่อ อ่ำ และวลี
ที่ปรากฏท้ายประโยค เช่น อะไรอย่ำงนี้ อะไรประมำณนี้ เป็นต้น ซึ่งรูปภาษาจ าพวก
อะไรอย่ำงนี้ Chodchoey (1986) จัดให้เป็นสมาชิกของภาษาคั่นความ หรือที่เรียกว่า
หน่วยส่งท้ายความ (prefabricated filler) ซึ่งเป็นได้ทั้งค าและวลี ส่วนมากมักปรากฏ
ร่วมกับ อะไร ก ากับสิ่งที่ก าลังพูดถึงโดยไม่ต้องการให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมอีก นับเป็น
สัญญาณว่าผู้พูดต้องการจะจบสิ่งที่ก าลังพูดแล้ว เช่น [เขาโกรธที่ผู้ชายมีชู้ อะไร
อย่ำงนี้ และ เขาก าของแตกไว้ในมือ ก า อะไรซักอย่ำง] เป็นต้น กรณีนี้จึงนับว่ามี
ความสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจซึ่งเป็นส่วนที่สามารถ
ตัดออกได้โดยไม่ท าให้ใจความส าคัญของประโยคเสียไป แต่ผู้พูดพูดเพื่อต้องการ
แสดงออกถึงความไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนให้ข้อมูลอยู่ ดังนั้นรูปภาษาในหน่วยในการส่ง
ท้ายความจึงเป็นสมาชิกของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ทางภาษาที่มีการ
ใช้ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจด้วย