Page 286 -
P. 286

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   267


                        งานของ Smith & Clark (1993), Brennan & Williams (1995) และ Swerts
                 & Krahmer (2005) ได้ศึกษาการปรากฏใช้ค าขึ้นต้นหน่วยถ้อยเพื่อใช้แสดงความ
                 ไม่มั่นใจ (an utterance-initial hesitation) ที่สัมพันธ์กับความมั่นใจในสิ่งที่พูด พบว่า
                 เมื่อผู้พูดถูกก าหนดให้ประเมินระดับความมั่นใจในค าตอบของตนจากการตอบค าถาม

                 ก่อนหน้า จะพบว่าค าตอบที่มีค าเหล่านี้ปรากฏในต าแหน่งขึ้นต้นหน่วยถ้อยสูงจะถูก
                 ประเมินว่าผู้พูดมีความมั่นใจน้อย จากข้อค้นพบนี้ ผู้วิจัยจึงเชื่อว่า ปรากฏการณ์ทาง
                 ภาษาที่มีการใช้ตัวบ่งชี้ทางภาษาแสดงความลังเลไม่มั่นใจ (hesitation) จะพบมาก ใน
                 กรณีที่ผู้พูดไม่สามารถจ าเพาะเจาะจงข้อมูลหรือให้ข้อมูลหนึ่งๆ อย่างมั่นใจได้ รวมทั้ง

                 กรณีที่ผู้พูดไม่ต้องการลงรายละเอียด ซึ่งอาจเกิดจากความไม่แน่ใจ หรือต้องการก ากับ
                 ข้อมูลที่ตนพูดว่ามีความเป็นไปได้แต่อาจจะไม่ถูกต้อง แม้ผู้พูดจะเชื่อในสิ่งที่ตนได้พูด
                 ออกไปก็ตาม และเมื่อพิจารณาการปรากฏของค าเหล่านี้จากค าให้การทั้งสอง
                 ประเภทก็พบว่า ในค าให้การจริงมีความถี่การปรากฏที่สูงกว่าในค าให้การเท็จอย่าง
                 สังเกตได้ จึงน าไปสู่การพิสูจน์ทิศทางการใช้ และความแตกต่างกันมากน้อยอย่างมี
                 นัยส าคัญระหว่างค าให้การจริงและเท็จรวมทั้งหาทฤษฎีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้

                        ทั้งนี้ในเครื่องมือที่ใช้ในงานตรวจจับการโกหกที่ชื่อว่า Linguistic Inquiry
                                     1
                 and Word Count (LIWC)  จัดค าที่มีลักษณะข้างต้นนี้ไว้เป็นว่า ค าแสดงความลังเล
                 ไม่มั่นใจ (มีชื่อเรียกว่ากลุ่ม tentative words) โดยมีสมาชิกของค าประเภทนี้ เช่น may,
                 maybe, think, like จากการทบทวนงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม (Barr, 2001; Beattie,
                 1979; Maclay & Osgood, 1959) ผู้วิจัยเห็นว่า การปรากฏของค าเหล่านี้เป็นผลจาก
                 กระบวนการเชิงปริชานที่พยายามเชื่อมต่อหน่วยถ้อยความต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นไป
                 อย่างราบรื่น ขณะเดียวกันก็ก ากับเจตนาเรื่องความลังเลไม่แน่ใจในข้อมูลที่ก าลังให้แก่
                 ผู้ฟังด้วยเช่นกัน ซึ่งเกณฑ์และตัวอย่างค าจาก LIWC นี้ใช้ประกอบการพิจารณาค า

                 ในงานวิจัยนี้ด้วย



                        1  โปรแกรม Text analysis ที่พัฒนาขึ้นโดย Francis and Pennebaker ตั้งแต่ช่วง
                 ปี 1990 เป็นเครื่องมืออ านวยความสะดวกให้สามารถประมวลและค านวณค าต่างๆ ในค าพูด
                 ของคนเราได้ง่ายและแม่นย าขึ้น
   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291