Page 171 -
P. 171
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
152 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ว่าเป็นผู้มีความรู้เฉพาะทางด้านภาษา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความแตกต่างใน
การแยกแยะเสียงสระทั้งสอง
3.1 การแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ของเจ้าของภาษาชาวเกาหลี
จ าแนกตามเสียงสระ
จากการวิเคราะห์ผลการทดสอบปัญหาเรื่องการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’
และสระ ‘ㅔ[e]’ ในกลุ่มเจ้าของภาษาชาวเกาหลีที่มีความหลากหลายทางเพศ อายุ
10
และอาชีพ ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS พบว่าค่าเฉลี่ยความถูกต้อง
ในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ โดยรวม คือ 52% ในทางสถิติไม่พบ
ความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ เมื่อจ าแนกความถูกต้องตามรูปแบบของเสียงสระ
‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ ของเจ้าของ
ภาษาชาวเกาหลี คือ 53% และค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅔ[e]’
ของเจ้าของภาษาชาวเกาหลี คือ 52%
ภาพที่ 2. แผนภูมิแสดงอัตราเฉลี่ยความถูกต้องในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’
และสระ ‘ㅔ[e]’ ของเจ้าของภาษาชาวเกาหลี จ าแนกตามเสียงสระ
10 งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science) ซึ่ง
เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ