Page 153 -
P. 153

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           134       Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


                 จุดเด่นอีกประการหนึ่งของงานวิจัยนี้ การใช้นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาเข้าไป
          เสริมการเล่านิทานให้นักเรียนในรูปแบบพี่สอนน้อง ซึ่งเป็นการท าให้เกิด role model
          ส าหรับนักเรียน เกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีไม่มีช่องว่างระหว่างวัย การเรียนรู้เป็นไปด้วย
          ความเพลิดเพลิน สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Phoongprasertying and Teeranon

          (2012) ที่พบว่ากระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มคนที่มีช่องว่างระหว่างวัยน้อยจะ
          กระตุ้นให้เกิดความคิดระหว่างการเรียนรู้ได้ดี

                 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นด้วยว่าหลังการใช้นิทานเป็นสื่อเรียนรู้ นักเรียนชั้น
          ประถมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่อ่านออกเสียงได้ดีขึ้นด้วยคะแนนที่เพิ่มขึ้นและมี
          ความสามารถในการเขียนเชิงวิเคราะห์เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ผ่านมาในอดีต
          (อัญชัญ เผ่าพัฒน์, 2534; อันจนา วงศ์ไชยา, 2549; อรอุมา อินฟูล า; 2551; เรนุกานต์
          พงศ์พิสุทธิกุล; 2552; นิหัสลัง เจยามา, 2554) แม้ว่าคะแนนที่วัดได้ในงานวิจัยนี้จะ

          เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยส าคัญ ทั้งนี้เนื่องจากข้อจ ากัดในการลงพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

                 ผลจากงานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าเนื้อหาหรือข้อมูลด้านวิถีชีวิตของ
          ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสังคมรอบตัวของนักเรียนเป็นสิ่งที่ควรน ามาบูรณาการ
          ให้เข้ากับเนื้อหาทางวิชาการด้านอื่นๆ สอดคล้องกับผลการวิจัยของโสภณ นาปรัง
          (2543) เรื่องการพัฒนามาตรฐานการศึกษาโรงเรียนต ารวจตระเวนชายแดนที่พบว่า
          มาตรฐานด้านผู้เรียนควรมี 12 มาตรฐาน มาตรฐานหนึ่งใน 12 ข้อ คือ การเห็นคุณค่า
          และภูมิใจในภูมิปัญญาไทย ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย


                 นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังท าให้เกิดสื่อการสอนด้วยการใช้นิทาน ซึ่งไปสนับสนุน
          ข้อค้นพบของสุเมธ นิยมธรรม (2544) ที่พบว่า ครูโรงเรียนต ารวจตระเวนชายแดนใช้

          สื่อกันน้อย ส่วนใหญ่สื่อที่ใช้จะเป็นบัตรค า บัตรภาพ ฯลฯ ที่ไม่ใช่นิทาน งานวิจัยนี้จึง
          สามารถท าให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพการอ่านออกเสียง การเขียนเชิงวิเคราะห์ใน
          ระดับหนึ่งแล้ว สามารถน าทักษะดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้รายวิชาอื่นๆ อีก
          ทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสามารถอ่านและเขียน
          ภาษาไทยได้และพร้อมที่จะเรียนรู้ได้บรรลุตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
          ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและมาตรฐานการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          อีกด้วย
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158