Page 79 -
P. 79
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68 Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)
ไปมีสามีใหม่เป็นชาวตะวันตก เมื่อพิจารณาพฤติกรรมดังกล่าวของผู้หญิงกลุ่มนี้ใน
มุมมองของคนเขมรถิ่นไทยอาจถือว่าพวกเธอได้ละเมิดกรอบของ “ภรรยาที่ดี”
ตามที่สังคมสั่งสอน ค าสอนเรื่องภรรยาที่ดีปรากฏชัดในคัมภีร์ใบลานชื่อ ฉบับสตรี
12
ส านวนวัดโคกสูง ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
หนึ่งแม้นสามี นั่นร้ายขนาด โกรธถึง(กับ)หวดตี
ด่าโจรดอกทอง
อย่าหาญทะเลาะตอบไป ... (การ)ดูถูก(ประการ)
หนึ่ง(กรณี)สามีดื่มเหล้า
เมาเหล้าทิ้งงาน เดินเล่นเอกา พูด(เสียง)ดังร้องร าเอะอะ
ให้หมาเห่าหอน
ลูกหลานตกใจตื่น ยินเสียงสามีแล้วเดือดดาล สาปแช่งด่าไป
ตามโดยใจหมั่นไส้
วรรณกรรมค าสอนข้างต้นนี้สอนให้ภรรยาชาวเขมรถิ่นไทยต้องอดทน
และอดกลั้น แม้สามีจะท าร้ายร่างกายและจิตใจพวกเธอ หรือเมาสุราจนละทิ้งการงาน
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น “ภรรยาที่ดี” ซึ่งจะได้มรรคผลในอนาคตตามจิต
ปรารถนา และหากปฏิบัติตามค าสอนอย่างเคร่งครัด พวกเธออาจจะได้เป็นถึงพุทธ
มารดา นอกเหนือไปจากส านวนที่เกี่ยวกับหญิงหม้ายซึ่งกล่าวถึงแล้วในตอนต้น
วรรณกรรมค าสอนเรื่องนี้เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าสังคมเขมรถิ่นไทยเอื้อ
ประโยชน์แก่เพศชายมากกว่าเพศหญิง การหย่าขาดจากสามีชาวเขมรถิ่นไทยไปมี
สามีชาวตะวันตกมิเพียงแต่เป็นการน าพาตนเองให้หลุดพ้นจากความทุกข์ในชีวิต
12
ผู้วิจัยพบฉบับสตรีส านวนนี้ที่วัดโคกสูง ต าบลกันทรารมย์ อ าเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ.2553 วรรณกรรมค าสอนส านวนนี้จารเสร็จเมื่อ พ.ศ.2518
จัดเป็นเรื่องเดียวกับฉบับสตรี ส านวนหมื่นไมของกัมพูชา ส านวนที่พิมพ์โดยพุทธ
ศาสนบัณฑิตเมื่อ ค.ศ.1974 จากการศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 2 ส านวนในเบื้องต้นพบว่า
ส านวนวัดโคกสูงมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญกับส านวนหมื่นไม เพียงแต่ใช้
ค าบางค าต่างออกไปและมีการสลับต าแหน่งค าในวรรคบางวรรค.