Page 80 -
P. 80
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วำรสำรมนุษยศำสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 69
แต่ยังเป็นการปฏิเสธวิถีปฏิบัติเดิมของสังคมเขมรถิ่นไทยที่สืบมาแต่โบราณซึ่งไม่
เป็นธรรมต่อพวกเธอ ในมุมหนึ่งวิธีการนี้ถือเป็นการท้าทายอ านาจปิตาธิปไตย
รูปแบบหนึ่งและเสี่ยงกับการถูกโต้กลับจากอ านาจดังกล่าวด้วยการประทับตรา
“ภรรยาไม่ดี” ให้เพื่อให้เป็นการลงโทษฐานที่พวกเธอทิ้งสามีคนเขมรถิ่นไทยไปมี
ผู้ชายคนใหม่
2.5 กรณีของผู้หญิงผิวด า เรื่องผิวสีด ามิใช่ปัญหาของผู้หญิงเขมร
ถิ่นไทยในอดีต เพราะผิวด าคือเครื่องหมายส าคัญ (marker) ที่แสดงอัตลักษณ์
ชาติพันธุ์อันน่าภูมิใจของชนกลุ่มนี้ วิเศษ ชาญประโคน (2539: 103-106) กล่าวว่า
ชาวเขมรถิ่นไทยในอดีตมีค่านิยมเลือกผู้หญิงผิวด าเป็นคู่ครอง เพราะยิ่งมอง
ผู้หญิง ผิวด า ก็ยิ่งชวนให้หลงใหล พวกเธอมีแนวโน้มว่าท านาเก่งและแข็งแรงกว่า
ผู้หญิงผิวขาวเพราะผู้หญิงกลุ่มหลังเอาแต่อยู่ในร่ม ผู้วิจัยเห็นว่าค่านิยมนี้
สอดคล้องกับสภาพสังคมเขมรถิ่นไทยในอดีตซึ่งคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม สังคมจึงให้ค่ากับคนที่ท างานให้ผลผลิตมากกว่า ซึ่งคนเหล่านี้มักมี
ผิวด าตามลักษณะพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม แต่ในปัจจุบันค่านิยมดังกล่าวของ
สังคมเขมรถิ่นไทยได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากอิทธิพลของโฆษณาผลิตภัณฑ์
บ ารุงผิวขาวจ านวนมากซึ่งถ่ายทอดผ่านสื่อต่างๆ เป็นประจ าได้สร้างค่านิยมใหม่
โดยการน าเสนอให้ผู้หญิงผิวขาวแลดูน่าหลงใหลกว่าผู้หญิงผิวด า ด้วยเหตุนี้
ผู้หญิงเขมรถิ่นไทยจ านวนมากจึงได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะพวกเธอมิได้มีสี
ผิวตามสมัยนิยม ผลกระทบนี้ท าให้พวกเธอไม่เป็นที่ปรารถนาของชายไทยและ
บางส่วนยังถูกเพื่อนๆ ปฏิเสธไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม การเปลี่ยนสีผิวจากด าเป็นขาว
มิใช่เรื่องง่าย หากจะท าจริงต้องใช้ทุนทรัพย์สูงซึ่งเรื่องทุนทรัพย์ได้กลายเป็น
ปัญหาใหญ่ส าหรับผู้หญิงเขมรถิ่นไทย เนื่องจากพวกเธอมีฐานะยากจนและไม่อาจ
หาเงินจ านวนมากได้ เมื่อต้องเผชิญกับภาวะกดดันจากกระแสสังคม ผู้หญิงเขมร
ถิ่นไทยบางคนจึงมองหาทางเลือกใหม่ที่พวกเธอจะได้ประโยชน์จากสีผิว ทางเลือก
ดังกล่าวคือการเลือกมีสามีชาวตะวันตกซึ่งคนกลุ่มนี้ขึ้นชื่อว่าชื่นชอบผู้หญิงผิวสี
ด า นัยส าคัญของการเลือกมีสามีชาวตะวันตกเป็นไปเพื่อสร้างการยอมรับจากผู้อื่น
โดยเฉพาะจากเพศตรงข้าม อันเป็นการชดเชยความน้อยเนื้อต่ าใจในอดีตและท า