Page 78 -
P. 78
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วำรสำรมนุษยศำสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 67
(สัทธา อริยะธุกันต์, ม.ป.ป.: 113-114) นอกจากนี้หญิงหม้ายยังมีโอกาสสูงที่จะถูก
ชายอื่นเข้ามาตีสนิทเพื่อหวังใช้เป็นเครื่องเล่นทางเพศ เพราะพวกเขาคิดว่าพวก
เธอเหงาและต้องการคู่นอนดังมีเพลงกล่าวที่กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “บองมันจือทามฺ
มายมันจ็องบานแปฺด็ย (ค าแปล พี่ไม่เชื่อว่าแม่หม้ายไม่อยากได้ผัวใหม่)” (สมานชัย.
ชุด สมานชัยซิ่ง 2000+1 เพลง สมานชัยล าเซิ้ง) หรือหวังปอกลอกทรัพย์ที่อดีต
สามีทิ้งไว้ให้ เมื่อชีวิตของหญิงหม้ายต้องเผชิญกับความยากล าบากหลายด้าน
พวกเธอจึงพยายามหาทางออกให้กับปัญหาในชีวิต หนึ่งในทางออกเหล่านั้นคือ
การมีสามีใหม่เป็นชาวตะวันตกเพื่อให้มีที่พึ่งใหม่ที่มั่นคง สามารถรอดพ้นจาก
ค าครหานินทาและไม่ต้องตกเป็นเครื่องเล่นทางเพศของชายใด อย่างไรก็ดี การมี
สามีชาวตะวันตกถือเป็นการผลิตซ้ ามโนทัศน์ชุดเดิมของสังคมเขมรถิ่นไทยที่มอง
ว่าเกิดผู้หญิงต้องมีสามีเป็นที่พึ่ง พวกเธอจึงจะมีชีวิตที่มั่นคง แต่ทว่าที่พึ่งของ
หญิงหม้ายชาวเขมรถิ่นไทยในปัจจุบันนั้นต่างไปจากในอดีต พวกเธอบางส่วนมิได้
เลือกผู้ชายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันมาเป็นสามีใหม่หรือหันหน้าเข้าพึ่งร่ม
พระพุทธศาสนาด้วยการบวชชี แต่พวกเธอกลับเลือกมีสามีชาวตะวันตกซึ่งเป็น
ทางเลือกใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในยุคโลกาภิวัตน์
2.4 กรณีของผู้หญิงที่มีชีวิตครอบครัวล้มเหลว ปัญหาส าคัญใน
11
กรณีนี้เกิดจากสามีติดสุรา ไม่ท างานหาเลี้ยงครอบครัว ท าร้ายร่างกายและจิตใจ
ของภรรยา รวมถึงด่ากระทบบุพการีและบรรพบุรุษของภรรยาซึ่งเป็นบุคคลที่
ภรรยาเคารพสูงสุด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภรรยาชาวเขมรถิ่นไทยทั้งหลายจึงต้องอดทน
อดกลั้นและแบกรับภาระทั้งหมดของครอบครัวซึ่งเกินก าลังที่เธอจะรับได้ ภรรยา
ชาวเขมรถิ่นไทยบางส่วนก้มหน้ายอมรับชะตากรรม แต่บางส่วนตัดสินใจหาทาง
ออกให้กับชีวิตด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งรวมถึงการหย่าขาดจากสามีชาวเขมรถิ่นไทยและ
11
ผลการส ารวจพฤติกรรมการดื่มสุราของส านักงานสถิติแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.
2550 พบว่าจังหวัดในภาคอีสานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจากการบริโภค
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงสุดได้แก่ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์และ
สุรินทร์ (บัณฑิต ศรไพศาลและคณะ, 2552: 28) รายชื่อ 2 จังหวัดสุดท้ายเป็นจังหวัด
ที่มีชาวเขมรถิ่นไทยอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศไทย.