Page 76 -
P. 76
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วำรสำรมนุษยศำสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 65
เป็นรูปธรรมด้วยสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ การครอบครองทรัพย์สิน การตกแต่ง
ร่างกายเพื่อให้พวกเธอเป็นที่จับจ้องของคนอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินและรูปแบบการพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงการเสพสื่อ
บันเทิงท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นไปเพื่อการประกาศสถานะใหม่ในฐานะ
ผู้มีอ านาจทางการเงินซึ่งมีความโดดเด่นและแตกต่างจากชาวบ้านธรรมดาทั่วไป
การเลือกมีสามีชาวตะวันตกในมุมหนึ่งถือเป็นการผลิตซ้ ามโนทัศน์เดิมของสังคม
เขมรถิ่นไทยที่ว่าเกิดเป็นผู้หญิงต้องแต่งงานมีสามีเป็นที่พึ่ง เพียงแต่สามีของพวก
เธอนั้นมิใช่คนในกลุ่มชาติพันธุ์หรือคนในชาติเดียวกัน แต่เป็นชายชาวตะวันตก
2.2 กรณีของผู้หญิงที่ครอบครัวเป็นหนี้ สาเหตุที่ชาวเขมรถิ่นไทย
เป็นหนี้มีหลายประการ ประการหนึ่งเกิดความแห้งแล้งซึ่งบีบบังคับให้ชาวเขมร
ถิ่นไทยต้องเอาชีวิตรอดโดยการไปกู้ยืมเงินและข้าวจากเจ้าหนี้คนไทยเชื้อสายจีน
ซึ่งมักเก็บดอกเบี้ยสูง ปัญหานี้มีต้นตอมาจากสภาพภูมิประเทศส่วนหนึ่งและการ
พัฒนาประเทศอย่างไม่เท่าเทียมกันอีกส่วนหนึ่ง สาเหตุประการหลังสอดคล้องกับ
ผลการศึกษาของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใน พ.ศ.2538 ซึ่งระบุว่า
การกระจายรายได้ในเขตอีสานตอนใต้มีความเหลื่อมล้ ามากที่สุดในประเทศไทย
ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาไม่เท่าเทียมกันซึ่งส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรม
ร้อยละ 90 อยู่นอกเขตชลประทาน ประชาชนที่อาศัยแหล่งน้ าธรรมชาติจึงไม่มีน้ า
เพียงพอต่อการเกษตรกรรม นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังเป็นหนี้มากถึงร้อยละ
76.59 (สมคิด พรมจุ้ยและคณะ, 2546: 130-136) เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวเขมรถิ่นไทย
จึงแทบไม่มีความหวังว่าจะสามารถสร้างรายได้จากการเกษตรเพื่อมาช าระหนี้สิน
ให้หมดโดยเร็ว การเข้าถึงแหล่งงานรายได้สูงยิ่งเป็นไปได้ยาก เพราะคนกลุ่มนี้ยัง
ขาดช่องทางเข้าถึงการศึกษาที่ดีดังที่ Vail (2006: 141) กล่าวไว้ว่าเมื่อพิจารณาใน
เชิงเศรษฐศาสตร์สังคม ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยมาจากบันไดขั้นต่ าสุดของสังคม
คนเหล่านี้เป็นชาวนาที่มาจากพื้นที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ต้องกลายเป็น
แรงงานไร้ฝีมือและมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เลื่อนสถานะทางสังคมหรือรับ
การศึกษาที่สูงขึ้น เมื่อชาวเขมรถิ่นไทยมีทางเลือกในชีวิตน้อยมาก ทางลัดทาง
หนึ่งที่จะท าให้คนกลุ่มนี้หลุดพ้นจากความยากจนคือการสนับสนุนให้บุตรีมีสามี