Page 38 -
P. 38

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   27

                เนื่องจากเป็นสิ่งผิดปกติ มนุษย์จึงเกิดความกลัวและพยายามที่จะป้องกันอันตราย
                ที่คาดว่าจะอุบัติขึ้น

                ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประวัติและบทบำทหน้ำที่ของเทวดำรักษำทิศกับ

                อุบำทว์ที่เกิดขึ้นตำมเรื่องอำธิไท้โพธิบำทว์
                       เมื่อสังเกตอุบาทว์ที่เทวดารักษาทิศบันดาลให้เกิดขึ้นแล้วจะพบว่า
                เหตุการณ์ส่วนใหญ่มีความเกี่ยวพันกับประวัติและบทบาทหน้าที่ของเทวดารักษา

                ทิศตามคัมภีร์ รวมไปถึงต านานต่างๆ ดังจะเห็นได้ต่อไปนี้

                       1. อุบาทว์พระอินทร์
                          1.1 กล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดิน มีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือ
                อุบาทว์ที่เกิดขึ้นกับพระเจ้าแผ่นดินเอง ตัวอย่างเช่น พระเจ้าแผ่นดินพลัดตกจาก
                พระราชอาสน์ พระราชยานหรือพาหนะต่างๆ และพระเจ้าแผ่นดินพอพระทัยที่จะ

                ประทับอยู่ในป่ามากกว่าในพระราชวัง ส่วนทางอ้อมคือ อุบาทว์ที่เกิดกับสิ่งของ
                บริวาร หรือคนใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น ฟ้าผ่าใส่ประตูพระราชมนเทียร โรงม้า โรงช้าง
                ของพระเจ้าแผ่นดิน เหล่าข้าราชบริพารทะเลาะวิวาทกัน เหล่านักปราชญ์ ญาติผู้
                ใกล้ชิดของพระเจ้าแผ่นดินเกิดผิดใจแค้นเคืองกัน และไพร่ฟ้าร้อนใจไม่มีที่พักอาศัย

                          อุบาทว์ที่กล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นมี
                ความสัมพันธ์กับพระอินทร์ เนื่องจากทั้งพระอินทร์และพระเจ้าแผ่นดินต่างก็มี
                หน้าที่ในการดูแลรักษาแผ่นดินเหมือนกันทั้งคู่ โดยพระเจ้าแผ่นดินจะมีหน้าที่ดูแล

                รักษาอาณาจักรให้เจริญ สมบูรณ์และปลอดภัยผ่านการปกครองในระบอบต่างๆ
                ส่วนพระอินทร์ก็มีหน้าที่ให้ความสว่างและความชุ่มชื่นอันเป็นประโยชน์แก่การ
                เพาะปลูก (เสฐียรโกเศศ, 2515: 14) เป็นผู้ก่อก าเนิดฟ้าและดิน เป็นผู้ท าลายพฤตาสูร
                คืออสูรที่ท าให้เกิดความแห้งแล้งแล้วท าให้เกิดฝนเพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
                แก่พืชพรรณธัญญาหารของโลก (นาค  ใจอารีย์, 2517: 156-157) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่
                ช่วยดูแลรักษาแผ่นดินนั่นเอง ทั้งพระอินทร์และพระเจ้าแผ่นดินต่างก็เป็นใหญ่ โดย

                พระเจ้าแผ่นดินจะเป็นใหญ่เหนือประชาชนบนโลกมนุษย์ ส่วนพระอินทร์จะเป็น
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43