Page 83 -
P. 83
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กลุ่มตัวอย่างที่มีการพึ่งพารายได้จากยางพาราแตกต่างกันกับทัศนคติของครัวเรือน
จากการสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ของครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีการ
พึ่งพารายได้จากยางพาราในทุกระดับมีความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในระดับมากสูงถึง 71.46% ส่วน
ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ระดับอื่น ๆ มีคะแนนลดหลั่นลงมาตามล าดับ กล่าวคือ ความพึงพอใจในชีวิต
ความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น 27.27% และความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ในระดับน้อย คิดเป็น
1.26%
จากการสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในสถานภาพทางเศรษฐกิจของครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี
การพึ่งพารายได้จากยางพาราน้อยกว่า 50% และกลุ่มตัวอย่างที่มีการพึ่งพารายได้จากยางพารา 50% - 60%
มีความพึงพอใจในสถานภาพทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง คิดเป็น 51.69% และ 48.00% ตามล าดับ
ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีการพึ่งพารายได้จากยางพารา 70% - 100% มีความพึงพอใจในสถานภาพทาง
เศรษฐกิจในระดับมากถึง 57.94%
จากการสอบถามเกี่ยวกับความสุขโดยรวมของครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีการพึ่งพารายได้จาก
ยางพาราในทุกระดับมีความสุขโดยรวมในระดับมากถึง 74.24% ส่วนความสุขโดยรวมระดับอื่น ๆ มีคะแนน
ลดหลั่นลงมาตามล าดับ กล่าวคือ ความสุขโดยรวมในระดับปานกลาง คิดเป็น 24.75% และความสุขโดยรวม
ในระดับน้อย คิดเป็น 1.01%
จากการสอบถามเกี่ยวกับการได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายทางสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีการ
พึ่งพารายได้จากยางพาราในทุกระดับคิดว่าเมื่อความสูญเสียหรือภัยพิบัติเกิดขึ้นจะได้รับความช่วยเหลือน้อย
มากหรือไม่ได้รับเลยถึง 59.09%
70