Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6.4 การรู้จักและความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า
เพื่อให้เข้าใจว่าเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยมีการรู้จักและความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพารา
ล่วงหน้า การส ารวจสามารถแบ่งประเด็นหลักออกเป็นการรู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าทั่วไป และความ
ต้องการใช้และปัญหาในการใช้ตลาด TFEX ดังแสดงในตารางที่ 6.10
ในส่วนที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่รู้จักหรือเคยได้ยินตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าถึง
82.58% หรือ 327 ราย และมีเพียง 69 ราย หรือ 17.42% เท่านั้นที่รู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า โดย
ใน 69 รายนี้มีเพียง 13.04% เท่านั้นที่เคยเข้าร่วมการอบรมการซื้อขายยางพาราล่วงหน้า นอกจากนั้นจาก
กลุ่มตัวอย่างที่รู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้ามีเพียง 43.48% ที่ใช้ประโยชน์จากราคายางพาราล่วงหน้า
ส่วนอีก 56.52% ของกลุ่มตัวอย่างที่รู้จักหรือเคยได้ยินตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าไม่เคยใช้ประโยชน์จาก
ราคายางพาราล่วงหน้าเลย ส าหรับผู้ที่ใช้ประโยชน์จากราคายางพาราล่วงหน้า ส่วนใหญ่รับข้อมูลราคา
ยางพาราล่วงหน้ามาจากเครือข่ายชาวสวนยาง ตลาดกลางซื้อขายยางพารา และการยางแห่งประเทศไทย
รองลงมา คือสื่อโทรทัศน์หนังสือพิมพ์ และอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้ราคายางพาราล่วงหน้าที่ใช้ประโยชน์เป็นราคา
ล่วงหน้าจากตลาดกลางซื้อขายยางพาราล่วงหน้า เช่น ตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานีมากที่สุด
(32.43%) รองลงมา คือตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าตลาด TFEX และตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าตลาด
ต่างประเทศ เช่น TOCOM, SICOM, SHFE คิดเป็น 27.03% และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ตอบว่ารู้จักตลาดซื้อขาย
ยางพาราล่วงหน้ามีความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้ การส ารวจได้สอบถามถึงการวางเงินหลักประกันและภาระ
ผูกพันในการซื้อขายเมื่อขาดทุน พบว่า ประมาณ 68.12% ของผู้ที่ตอบว่ารู้จัก ไม่ทราบว่าการซื้อขายในตลาด
ล่วงหน้าจะต้องมีการวางเงินหลักประกัน ซึ่งอาจเป็นภาระทางด้านสภาพคล่องของเกษตรกรรายย่อยได้
นอกจากนั้นเมื่อเกิดการซื้อขายขาดทุน เกษตรกรถึงประมาณ 75.36% ไม่ทราบว่ามีภาระผูกพันอะไร
ประมาณ 14.49% คิดว่ารัฐบาลจะเข้ามาช่วยเหลือการขาดทุน ประมาณ 7.25% เข้าใจผิดเกี่ยวกับการยกเลิก
สัญญาโดยการขาย ซึ่งจะท าให้ส่วนเปิดกับราคาเพิ่มสูงขึ้น มีเพียงประมาณ 2.90% เท่านั้นที่เข้าใจว่าอาจมี
ภาระในการวางเงินประกันเพิ่มเติม ซึ่งจะกระทบสภาพคล่องของเกษตรกร ซึ่งถ้าไม่มีเงินหลักประกันอาจถูก
บังคับปิดบัญชีซึ่งท าให้ต้องรับภาระการขาดทุน ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าผู้ที่ตอบว่ารู้จักตลาดซื้อขายยางพารา
ล่วงหน้าอาจไม่มีความเข้าใจที่ส าคัญเกี่ยวกับการซื้อขายของตลาดล่วงหน้า
ส าหรับในส่วนที่ 2 เป็นการส ารวจความต้องการการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า พบว่า กลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าถึง 89.65% และมีเพียงประมาณ 2.28% ที่เคย
ใช้หรือคิดที่จะใช้แต่ถูกปฏิเสธ (โดยไม่ทราบเหตุผล) อีกประมาณ 8.08% ที่คิดที่จะใช้แต่ไม่ได้ใช้ เหตุผลที่ผู้เคย
ใช้ส่วนใหญ่ประมาณ 50% คิดว่าสามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่าตลาดเงินสด และประมาณ 37.50% สามารถ
ก าหนดราคาขายได้แน่นอน ดังนั้นเกษตรกรที่ใช้อาจมีแรงจูงใจในการใช้เชิงแสวงหาผลก าไรมากกว่าที่จะเป็น
การบริหารความเสี่ยง ส าหรับสาเหตุของเกษตรกรที่คิดว่าจะใช้แต่ไม่ใช้นั้น เหตุผลหลักคือ ไม่มีเวลาติดตาม
73