Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมความต้องการในการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเพื่อป้องกันความ
เสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางรายย่อย เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและอุปสรรคของการเข้าถึงตลาดยางพารา
ล่วงหน้า จากการส ารวจข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างของเกษตรกรผู้ปลูกยางรายย่อยจาก 3 ภาค คือภาคใต้
(จังหวัดสงขลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี) และภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรี) จ านวน
396 ราย พบว่าเกษตรกรรายย่อยรู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (TFEX) น้อยมาก มีเพียง 17.42%
เท่านั้นที่รู้จักหรือเคยได้ยินตลาด TFEX และมีเกษตรกรรายย่อยเพียง 10.35% เท่านั้นที่คิดที่จะใช้หรือเคยใช้
ตลาด TFEX จากการที่เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ขายน้ ายางหรือยางถ้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเก็บ
รักษาได้นาน (Storability) ในการส่งมอบ และความต้องการรายได้เพื่อใช้จ่ายประจ าวันของเกษตรกร การใช้
ตลาดล่วงหน้าเพื่อบริหารความเสี่ยงจึงอาจไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบอาชีพของเกษตรกรรายย่อย
นอกจากนั้นการที่สินค้าอ้างอิงในตลาดเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ยังท าให้เกษตรกรเปิดกับ Basis Risk
อีกด้วย จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติพบว่าหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นผู้ชาย หัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษาตั้งแต่
ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสใช้ตลาดล่วงหน้าสูง แต่การวิเคราะห์ยังพบว่าเกษตรกรที่มีสัดส่วนการพึ่งพา
รายได้จากการปลูกยางสูงมีโอกาสการใช้ตลาดต่ า ซึ่งขัดแย้งกับที่แนวคิดการกระจายความเสี่ยง
(Diversification) ส าหรับทักษะความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) และทัศนคติด้านความเสี่ยง (Risk
Attitude) ตลอดจนเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ไม่พบว่ามีนัยส าคัญทางสถิติ โดยรวมผลการ
วิเคราะห์อาจสามารถตีความได้ว่าตลาดล่วงหน้าไม่เหมาะสมกับการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
เนื่องจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาซึ่งควรจะเป็นตัวก าหนดการตัดสินใจของเกษตรกรในการใช้ตลาดไม่สามารถ
อธิบายการใช้ตลาดล่วงหน้าของเกษตรกรได้ตามที่คาดไว้ จากข้อจ ากัดของการใช้ตลาดล่วงหน้าของเกษตรกร
รายย่อยดังกล่าวข้างต้น ทางเลือกอื่นในการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วย 1) การประกันราคายางพาราของ
ภาครัฐ 2) การรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward จากเกษตรกรรายย่อย 3) การขายประกันความ
เสี่ยงทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อย (Price Insurance) ถึงแม้ว่าแต่ละทางเลือกจะมีข้อดีและข้อเสียที่
แตกต่างกัน ในการประเมินเบื้องต้น การขายประกันความเสี่ยงทางด้านราคา (โดยใช้ราคาเฉลี่ย) น่าจะมีความ
เหมาะสมที่สุด ท้ายที่สุดข้อเสนอทางเลือกเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้นเท่านั้น จึงควรมีการศึกษารายละเอียดของ
แนวทางในการบริหารความเสี่ยง การประเมินภาระความสูญเสียของทางเลือกเหล่านี้ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ
ในเชิงนโยบายต่อไป