Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติพบว่าหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นผู้ชาย หัวหน้าครัวเรือนที่มีการศึกษา
ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีโอกาสใช้ตลาดล่วงหน้าสูง แต่การวิเคราะห์ยังพบว่าเกษตรกรที่มีสัดส่วนการ
พึ่งพารายได้จากการปลูกยางสูงมีโอกาสการใช้ตลาดต่ า ซึ่งขัดแย้งกับที่แนวคิดการกระจายความเสี่ยง
(Diversification) ส าหรับทักษะความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) และทัศนคติด้านความเสี่ยง (Risk
Attitude) ตลอดจนเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ไม่พบว่ามีนัยส าคัญทางสถิติ โดยรวมผลการ
วิเคราะห์อาจสามารถตีความได้ว่าตลาดล่วงหน้าไม่เหมาะสมกับการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อย
เนื่องจากปัจจัยที่ได้กล่าวมาซึ่งควรจะเป็นตัวก าหนดการตัดสินใจของเกษตรกรในการใช้ตลาดไม่สามารถ
อธิบายการใช้ตลาดล่วงหน้าของเกษตรกรได้ตามที่คาดไว้
ทางเลือกทางด้านโยบาย
จากข้อจ ากัดของการเข้าถึงและการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า TFEX ดังกล่าวข้างต้น น ามาสู่
ข้อเสนอของแนวทางเลือกที่อาจจะน ามาใช้เป็นเครื่องมือส าหรับการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูก
ยางพารารายย่อย 3 แนวทางคือ แนวทางที่ 1 การประกันราคายางพาราของภาครัฐ แนวทางนี้ภาครัฐ
รับประกันราคาให้แก่เกษตรกร เมื่อราคาซื้อขายต่ ากว่าราคารับประกันรัฐบาลจะชดเชยเงินให้แก่เกษตรกรจาก
ส่วนต่างดังกล่าว อย่างไรก็ตามแนวทางนี้จะก่อให้เกิดภาระทางด้านงบประมาณกับรัฐบาลค่อนข้างมาก ซึ่งอาจ
ท าให้ไม่สามารถด าเนินการได้อย่างยั่งยืน รวมถึงอาจถูกใช้เป็นนโยบายเพื่อใช้สร้างความนิยมโดยการก าหนด
ราคารับประกันที่สูงเกินไปได้
แนวทางที่ 2 การรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward ที่ออกแบบส าหรับเกษตรกรรายย่อย
โดยแนวทางนี้ภาครัฐจัดตั้งองค์กรกลางเข้ามาท าหน้าที่รับซื้อยางพาราล่วงหน้ากับเกษตรกรรายย่อยโดยไม่มี
การส่งมอบจริง (Cash Settlement) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและการจัดการในการส่งมอบ และยังท าให้เกษตรกร
สามารถมีรายได้จากการขายยางตามช่องทางเดิมเพื่อมีรายได้ส าหรับการใช้จ่ายรายวัน เมื่อถึงวันครบก าหนด
เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยจากองค์กรกลางถ้าราคาในอนาคตต่ ากว่าราคาขายล่วงหน้า แต่เกษตรกรจะต้อง
จ่ายเงินให้กับองค์กรกลางถ้าราคาในอนาคตสูงกว่าราคาที่ขายล่วงหน้า องค์กรกลางสามารถปิดความเสี่ยงจาก
การรับซื้อยางพาราล่วงหน้าโดยเข้าท าการขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX ในลักษณะ Back-to-Back
Transactions (ซึ่งอาจมีข้อจ ากัดในเรื่องของปัญหาสภาพคล่องการซื้อขายในตลาด TFEX) แต่ที่ส าคัญองค์กร
กลางจะเปิดกับความเสี่ยงจากการบิดพลิ้วของเกษตรกรเมื่อเกษตรกรต้องช าระเงินส่วนต่างให้แก่องค์กรกลาง
(Counterparty Risk) ในกรณีที่ราคายางสูงขึ้นในอนาคต
สุดท้าย แนวทางที่ 3 องค์กรกลางภาครัฐขายประกันราคายางพาราแก่เกษตรกรรายย่อย โดย
เกษตรกรจ่ายค่าเบี้ยประกันแก่องค์กรนี้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาถ้าราคายางต่ ากว่าราคาที่ประกันไว้ องค์กรกลาง
จะจ่ายชดเชยให้เกษตรกรรายย่อย ถ้าราคายางเฉลี่ยในช่วงการประกันสูงกว่าราคาที่รับประกัน เกษตรกรจะ
ไม่ได้รับการชดเชยราคา โดยราคาที่ใช้ในการก าหนดการชดเชยของการประกันจะใช้ราคายางเฉลี่ยในช่วงการ