Page 4 -
P. 4

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       โครงสร้างปัจจุบันของการใช้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไทย


                       โครงสร้างตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX ยังคงมีลักษณะของสัญญาเหมือนกันกับที่ซื้อ

               ขายในตลาด AFET กล่าวคือสินทรัพย์อ้างอิงยังมีเพียงชนิดเดียวคือยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) โดยขนาดต่อ
               1 สัญญาเท่ากับ 5,000 กิโลกรัม และมีเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุทุกเดือนต่อเนื่องเรียงล าดับกัน 7 เดือนที่ใกล้

               ที่สุด โดยเน้นให้มีการซื้อขายสัญญาที่มีการส่งมอบจริง (RSS3D) เพื่อลดการเข้ามาของกลุ่มนักลงทุนที่เน้นการ

               เก็งก าไรและลดความผันผวนของราคาซื้อขายยางพาราล่วงหน้า ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสภาพคล่องของการซื้อขาย
               ยางพาราล่วงหน้าในตลาด TFEX ดูเหมือนจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการส่งค าสั่งซื้อขายดังกล่าวส่วน

               ใหญ่เป็นการส่งค าสั่งจากสมาชิกบริษัทต่างๆ ที่ท าหน้าที่เป็นตัวสร้างสภาพคล่องการซื้อขาย (Market Maker)

               ซึ่งท าให้การซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีการส่งมอบจริงเป็นส่วนใหญ่ โดยค าสั่งซื้อขายนั้นๆ จะถูกปิดสถานะก่อนถึง
               วันครบก าหนดสัญญา จากการสัมภาษณ์บริษัทผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของไทยส่วนใหญ่จะใช้การซื้อขาย

               ยางพาราล่วงหน้าในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ตลาด SICOM ของประเทศสิงคโปร์หรือ TOCOM ของประเทศ

               ญี่ปุ่น เนื่องจากมีสภาพคล่องการซื้อขายที่ดีกว่า ปัจจัยส าคัญที่ท าให้ปริมาณการซื้อขายในตลาด TFEX
               ค่อนข้างน้อยก็คือขาดผู้ที่ต้องการซื้อล่วงหน้าในตลาด เพราะผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ส่วนใหญ่จะมีสถานะ

               เป็นผู้ขายล่วงหน้า  ผู้ที่จะมีสถานะซื้อยางพาราล่วงหน้าคือผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกซึ่งต้องการซื้อ
               ขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เพื่อไม่ให้มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน แต่ตลาด TFEX มีการซื้อ

               ขายในสกุลเงินบาท ส าหรับผู้ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในประเทศก็ไม่มีความจ าเป็นต้องซื้อขายยางพารา

               ล่วงหน้าในตลาด TFEX เนื่องจากสามารถตกลงท าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้จ าหน่ายยางพาราได้โดยตรงโดย
               ไม่ต้องมีการวางเงินหลักประกันดังเช่นตลาด TFEX


                       นอกจากนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ยังได้ท าการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราระดับภูมิภาค
               (Regional Rubber Market : RRM) ขึ้น ตามมติที่ประชุมสภาไตรภาคียางพาราระหว่างประเทศ

               (International Tripartite Rubber Council: ITRC ) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศไทย มาเลเซีย และ
               อินโดนีเซีย เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้กับเกษตรกรและสหกรณ์สามารถ ขายยางพาราในลักษณะตลาด

               ล่วงหน้า โดยได้เปิดด าเนินการพร้อมกัน 3 ประเทศ ในวันที่ 2 กันยายน 2559 ตลาด RRM เป็นตลาดกลางซื้อ
               ขายยางธรรมชาติล่วงหน้าแบบส่งมอบจริง สินค้าที่ซื้อขายผ่านตลาดมี 2 ชนิด คือยางแท่ง STR 20 และยาง

               แผ่นรมควันชั้น 3  อย่างไรก็ตามยังเป็นที่น่ากังวลว่าตลาด RRM ของไทยจะประสบความส าเร็จหรือไม่

               เนื่องจากตลาด RRM ในประเทศอินโดเซีย ซึ่งซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในรูปแบบของยางแท่ง STR 20 ยังมี
               ปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างน้อยมากเช่นกัน



                       การสะท้อนข้อมูลข่าวสารของราคายางพาราล่วงหน้า
                       การสะท้อนข้อมูลข่าวสาร (Price Informativeness) ของราคายางพาราล่วงหน้าเป็นประเด็นส าคัญ

               ในการใช้บริหารความเสี่ยง การศึกษานี้วิเคราะห์การสะท้อนข้อมูลข่าวสาร (Price Informativeness) ของ

               ราคายางพาราล่วงหน้าจากตลาดหลักของโลกซึ่งได้แก่ตลาด TOCOM, SICOM และ SHFE (เนื่องจากข้อจ ากัด
   1   2   3   4   5   6   7   8   9