Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสรุปผู้บริหาร
(Executive Summary)
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (Commodity Futures) มีความส าคัญต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ท าให้หน่วยเศรษฐกิจและธุรกิจสามารถจัดการกับความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์
ตลอดจนปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบได้ ยางพาราถือเป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยมีการส่งออกเป็นอันดับหนึ่ง
ของโลก อย่างไรก็ตามที่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคายางพาราโลกมีความผันผวนอย่างมาก รัฐบาลทุกสมัยที่ผ่าน
มาจึงมีมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อราคาของสินค้าเกษตรตกต่ า หรือเกิดภัยพิบัติขึ้น ท าให้เป็น
ภาระทางด้านการคลังของรัฐบาล ในการปฏิรูปประเทศทางด้านเศรษฐกิจ จากเอกสารการปฏิรูป: ด้าน
เศรษฐกิจ ของคณะท างานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ พ.ศ. 2557 ได้มีการก าหนดนโยบาย
ในการพัฒนาตลาดเกษตรล่วงหน้าเพื่อให้ “เกษตรกรไทยมีทางเลือกที่จะผลิตหรือก าหนดราคาที่จะขายอีกทั้ง
ตลาดเกษตรล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตร และท าให้ภาคเกษตรปลอด
จากการครอบง าทางการเมืองและสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรสามารถเข้ามาท าธุรกรรมในตลาดสินค้าเกษตร
ล่วงหน้า”
อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนการศึกษาในต่างประเทศ เช่น Banerjee and Duflo (2007) และ
Banerjee (2013) พบว่าเกษตรกรในประเทศที่ก าลังพัฒนามีการบริหารความเสี่ยงค่อนข้างน้อย เนื่องจาก
เกษตรกรอาจขาดทักษะความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) หรือมีปัญหาเชิงพฤติกรรม (Cognitive
Bias) ในเรื่องทัศนคติทางด้านความเสี่ยง (Risk Attitude) ตลอดจนการช่วยเหลือเกื้อกูลจากเครือข่ายสังคม
(Social Network) การศึกษาเหล่านี้ยังพบว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินส าหรับผู้มีรายได้น้อยจะประสบ
ความส าเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการเหล่านั้นได้รับการออกแบบให้เหมาะกับความต้องการ
ของผู้มีรายได้น้อยเพียงใด การที่ภาครัฐมีนโยบายให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยใช้ตลาดซื้อขายยางพารา
ล่วงหน้า (TFEX) ในบริหารความเสี่ยงถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากยางพาราล่วงหน้าดังกล่าวเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน อาจไม่ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับความต้องการของเกษตรกรรายย่อย
โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของเกษตรกรรายย่อยของไทยในการใช้ตลาดซื้อขาย
ยางพาราล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา
โครงการวิจัยนี้เริ่มด้วยการศึกษาโครงสร้างปัจจุบันของการใช้ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของไทย
(TFEX) จากนั้นจึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของราคายางพาราเงินสดไทยและราคายางพาราล่วงหน้าในตลาด
ต่างประเทศว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยได้
หรือไม่ และสุดท้ายซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้คือการส ารวจกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูก
ยางพารารายย่อยเพื่อให้ทราบพฤติกรรมและความต้องการในการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรดังกล่าวใน
การใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพารา