Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประกันเพื่อป้องกันการท าราคา (Price Manipulation) นอกจากนั้นการใช้ราคายางเฉลี่ยยังเหมาะสมกับการ
ช่วยลดความผันผวนของราคาที่เกษตรกรรายย่อยมีจากการขายรายวันท าให้การบริโภคของเกษตรกรมีความ
สม่ าเสมอ (Smooth Consumption) กว่าการใช้ราคา ณ วันครบก าหนดเพียงราคาเดียว การประกันใช้ราคา
ยางเฉลี่ยในช่วงการประกันส าหรับก าหนดการช าระเงินนั้นยังท าให้ค่าเบี้ยประกันที่ต่ ากว่าการใช้ราคา ณ วัน
ครบก าหนดเพียงราคาเดียว (เนื่องจากเป็น Asian Option) ซึ่งเหมาะกับเกษตรกรรายย่อยที่มีสภาพคล่อง
ส่วนเกินไม่มากนัก ข้อดีของทางเลือกนี้ คือสามารถเสนอระดับของการชดเชยได้หลายระดับซึ่งมีค่าเบี้ยประกัน
ที่แตกต่างกันไปท าให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น เกษตรกรที่ต้องการราคาประกันที่สูงจะเสียค่าเบี้ยประกันที่
แพง ในขณะที่เกษตรกรที่เลือกราคาประกันที่ต่ าก็จะเสียค่าเบี้ยประกันต่ า จึงท าให้เกษตรกรสามารถเลือกซื้อ
การประกันที่เหมาะสมกับตนเองได้ อีกทั้งเกษตรกรยังมีโอกาสได้รับประโยชน์ (หลังจากหักค่าเบี้ยประกันที่
จ่าย) หากราคายางในอนาคตสูงขึ้นด้วย (ซึ่งต่างจากสัญญา Forward) นอกจากนั้น การประกันไม่มีความเสี่ยง
ทางด้าน Counterparty Risk ขององค์กรกลาง เนื่องจากเกษตรกรได้จ่ายค่าเบี้ยประกันก่อนแล้วเมื่อซื้อ
ประกัน (Upfront Payment)
ถึงแม้ว่าแต่ละทางเลือกจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ในการประเมินเบื้องต้น การขายประกัน
ความเสี่ยงทางด้านราคาให้แก่เกษตรกรรายย่อยน่าจะมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจากการประกันราคา
ยางพาราของภาครัฐเป็นภาระด้านงบประมาณที่สูงท าให้ไม่มีความยั่งยืนและไม่ส่งเสริมให้เกษตรกรช่วยเหลือ
ตนเอง ส่วนการรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward นั้น ปัญหาที่ส าคัญคือความเสี่ยงในการช าระส่วน
ต่างจากเกษตรกรเมื่อราคายางสูง (Counterparty Risk) ซึ่งถ้าขาดกลไกในการจัดการความเสี่ยงในเรื่องนี้ที่มี
ประสิทธิภาพ ทางเลือกนี้อาจสร้างภาระแก่ภาครัฐในระยะยาวได้ ส าหรับการขายประกันความเสี่ยงทางด้าน
ราคา (Price Insurance) ถึงแม้เกษตรกรต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันก่อนซึ่งอาจมีผลต่ออัตราการเข้าใช้ (Take-
up Rate) ของเกษตรกร แต่การประกันความเสี่ยงทางด้านราคายางมีปัญหาในเรื่องความคลุมเครือ
(Ambiguity) ค่อนข้างน้อย และการใช้ราคาเฉลี่ยในการช าระราคาซึ่งท าให้เป็นลักษณะ Asian Put Option
จะมีค่าเบี้ยประกันต่ าที่จะไม่เป็นภาระทางด้านสภาพคล่องของเกษตรกรมากนัก แต่การจัดการความเสี่ยง
(Hedging) ขององค์กรกลางมีความยุ่งยากมากกว่าการรับซื้อยางพาราล่วงหน้าประเภท Forward
ท้ายที่สุด ข้อเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็น
เพียงแนวคิดเบื้องต้นเท่านั้นยังขาดรายละเอียดในเรื่องการส ารวจความคิดเห็นของเกษตรกรจากกลุ่มตัวอย่างที่
มากขึ้น และประเด็นที่ส าคัญคือการศึกษารายละเอียดวิธีการจัดการความเสี่ยง (Hedging) ของแนวทางการรับ
ซื้อยางล่วงหน้าประเภท Forward และการขายประกันราคา (Price Insurance) ตลอดจนการประเมินภาระ
ความสูญเสียโดยการจ าลอง (Simulation) ภายใต้สถานการณ์และกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงวิธีต่างๆ ซึ่ง
จะช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบาย อย่างไรก็ตามประเด็นเหล่านี้อยู่นอกเหนือขอบเขตของงานวิจัยนี้ซึ่งควรมี
การศึกษาในอนาคตต่อไป