Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของข้อมูลและสภาพคล่องของตลาด TFEX) กับราคาเงินสดที่อ้างอิงจากราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ตลาด
กลางหาดใหญ่ ถ้าราคาของตลาดกลางหาดใหญ่มีความสัมพันธ์กับตลาดล่วงหน้าแสดงว่าการซื้อขายยางพารา
ล่วงหน้าสามารถใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางพาราของไทย ผลการศึกษาพบว่า
ราคายางพาราล่วงหน้าของตลาด SICOM ที่ระยะเวลาส่งมอบเท่ากับ 1 และ 3 เดือนและราคาเงินสดมี
ความสัมพันธ์ที่เป็นบวกอย่างมีนัยส าคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อทดสอบสมมติฐานร่วม (Joint Hypothesis) ถึง
ความมีประสิทธิภาพของราคายางพาราล่วงหน้าจากการใช้ Wald Statistics พบว่าการป้องกันความเสี่ยงโดย
ใช้ราคายางพาราล่วงหน้าจากทั้ง 3 ตลาดอาจไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาจึงชี้ว่าการใช้ราคายางพารา
ล่วงหน้าจากตลาดต่างประเทศหลักทั้ง 3 ตลาดในการป้องกันความเสี่ยงราคายางของไทยจะต้องท าด้วยความ
ระมัดระวัง เนื่องจากราคาล่วงหน้าและราคาเงินสดไม่มีความสัมพันธ์ตามทฤษฎีที่คาดไว้
ความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า
การส ารวจความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าจากกลุ่มตัวอย่างจ านวน 396 รายของ
เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย 3 จังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค กล่าวคือ สงขลา (ภาคใต้),
อุบลราชธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และจันทบุรี (ภาคตะวันออก) โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบด้วย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม สังคมและเศรษฐภาวะของครัวเรือน การตัดสินใจทางด้านการเกษตร
ทักษะความรู้ทางด้านการเงิน ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง การใช้ผลิตภัณฑ์ตลาดยางพาราล่วงหน้า และ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผลการส ารวจพบว่าเกษตรกรรายย่อยมีความรู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (TFEX)
น้อยมาก กล่าวคือ มีเพียง 17.42% เท่านั้นที่รู้จักหรือเคยได้ยินตลาด TFEX ในจ านวนดังกล่าวเกษตรกรราย
ย่อยบางรายยังเข้าใจผิดว่าเป็นตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (Forward Market) ที่ตลาดกลางยางพารา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี บางรายยังเข้าใจว่าเป็นตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในต่างประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ไม่คิดที่จะใช้ตลาด TFEX มีเพียง 10.35% เท่านั้นที่
คิดที่จะใช้หรือเคยใช้ ตลาด TFEX เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในเรื่องกลไกที่ส าคัญของตลาดซื้อขาย
ล่วงหน้า (Futures Market) ในเรื่องการวางเงินประกันเริ่มต้น (Initial Margin Requirement) ในการเปิด
บัญชีซื้อขาย ตลอดจนการที่เกษตรกรอาจจะถูกเรียกเงินประกันเพิ่มเติมหากมีการขาดทุนเกินกว่าระดับที่
ก าหนดไว้ หรือบางรายเข้าใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเมื่อเกิดการขาดทุน
การใช้ตลาดล่วงหน้าเพื่อบริหารความเสี่ยงอาจไม่สอดคล้องกับลักษณะการประกอบอาชีพของ
เกษตรกรรายย่อย เนื่องจากส่วนใหญ่ขายน้ ายางหรือยางถ้วยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน
(Storability) ในการส่งมอบ อีกทั้งเกษตรกรยังมีความต้องการรายได้เพื่อการใช้จ่ายประจ าวัน นอกจากนั้นการ
ที่สินค้าอ้างอิงในตลาดเป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ยังท าให้เกษตรกรรายย่อยเปิดกับความเสี่ยง Basis
Risk อีกด้วย