Page 63 -
P. 63
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5.2 แบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งถูกพัฒนาจากการสนทนากลุ่มย่อยกับตัวแทน
เกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยในทั้ง 3 จังหวัด และปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ เพื่อน าไปทดสอบกับ
กลุ่มตัวแทนฯ อีกครั้ง พร้อมทั้งปรับปรุงค าถามให้ชัดเจนเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยแบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยต่อความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า
(ดังแสดงไว้ในภาคผนวก) มีทั้งหมด 7 ส่วน ประกอบด้วย
- ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป เพื่อสอบถามข้อมูลทั่วไปในครัวเรือน เช่น จ านวนสมาชิกในครัวเรือน, อาชีพ
ภายในครัวเรือน, รายได้ต่อเดือนของครัวเรือน และค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครัวเรือน เป็นต้น
- ส่วนที่ 2 สังคมและเศรษฐภาวะของครัวเรือน เพื่อสอบถามการครอบครองและการใช้ประโยชน์
ของที่ดิน การออม การกู้ยืม และการให้ยืมของครัวเรือน
- ส่วนที่ 3 การตัดสินใจทางด้านการเกษตร เพื่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นในการท าเกษตรทั่วไปและ
การปลูกยางของครัวเรือน และสัดส่วนการแบ่งพื้นที่เฉพาะท าการเกษตรเมื่อรวมที่ดินทุกแปลง
- ส่วนที่ 4 ทักษะความรู้ทางด้านการเงิน เพื่อการทดสอบการเงินมาตรฐานจ านวน 4 ข้อที่ประยุกต์
จาก Lusardi and Mitchell (2007) เกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยทบต้น ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ค่าเงินตามเวลา ความเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ และการกระจายความเสี่ยง รวมถึงสอบถามการเลือก
ลักษณะการเพาะปลูก
- ส่วนที่ 5 ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง เพื่อสอบถามทัศนคติต่อสถานภาพครัวเรือน ทัศนคติต่อความ
เสี่ยงและมูลค่าตามกาลเวลา และทัศนคติต่อปัญหาและความเสี่ยง โดยปรับจาก Binswanger
(1980)
- ส่วนที่ 6 การใช้ผลิตภัณฑ์ตลาดยางพาราล่วงหน้า เพื่อสอบถามความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น
รู้จักตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าหรือไม่ เคยใช้ผลิตภัณฑ์ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าหรือไม่
และเหตุผลในการตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าคืออะไร เป็นต้น
- ส่วนที่ 7 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เป็นค าถามปลายเปิดเพื่อสอบถามลักษณะผลิตภัณฑ์ตลาดยางพารา
ล่วงหน้าที่ท่านต้องการเบื้องต้น และข้อเสนอแนะอื่น ๆ
50