Page 64 -
P. 64
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อติดตามแบบสอบถามจนครบสมบูรณ์แล้ว จากนั้นจึงท าการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและ
ติดตามข้อค าถามที่ไม่มีการตอบ จนครบทั้งจ านวน 400 ครัวเรือน และมาด าเนินการวิเคราะห์ทางสถิติ จ านวน
396 ครัวเรือน เนื่องจากมีเกษตรกรรายใหญ่ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกยางจ านวนมากอาศัยในจังหวัดจันทบุรี
จ านวน 3 ครัวเรือน และอีกหนึ่งครัวเรือนในจังหวัดสงขลาที่ตอบข้อค าถามในเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสไม่
ถูกต้องจึงไม่น ามาพิจารณาในการศึกษานี้ โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรกเป็นการ
วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้สถิติบรรยายเพื่ออธิบายลักษณะของตัวแปร ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน น าเสนอในบทที่ 6 และส่วนที่สองน าเสนอในบทที่ 7 การวิเคราะห์ความ
ต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงของเกษตรกร โดยใช้ Logistic Regression ตาม
สมมติฐานหลักของการวิจัย จากนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะน ามาสู่ การสรุปผล อภิปรายผล พฤติ
กรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย เพื่อน าไปสู่ความรู้ความเข้าใจต่อพฤติกรรม
และความต้องการการป้องกันความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย และข้อเสนอแนะเบื้องต้น
เกี่ยวกับการใช้ Futures ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย
51