Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 6
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการส ารวจพฤติกรรมเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย
ในบทนี้จะน าเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากการส ารวจพฤติกรรมเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราราย
ย่อยต่อความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า (รายละเอียดแบบสอบถามแสดงในภาคผนวก) ซึ่ง
แบบสอบถามมีทั้งหมด 7 ส่วน ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปในครัวเรือน สังคมและเศรษฐภาวะของครัวเรือน การ
ตัดสินใจทางด้านการเกษตร ทักษะความรู้ทางด้านการเงิน ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง การใช้ผลิตภัณฑ์ตลาด
ยางพาราล่วงหน้า และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
โดยคณะผู้วิจัยจะท าการส ารวจข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจ านวน 396 รายจากเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราราย
ย่อยจาก 3 จังหวัดที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค กล่าวคือ สงขลา (ภาคใต้), อุบลราชธานี (ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ/เหนือ) และจันทบุรี (ภาคตะวันออก/กลาง) โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นส่วนที่
6.1 แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจ าแนกตามภาค ส่วนที่ 6.2 แสดงผล
ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ ทักษะทางการเงิน ทัศนคติทางด้านความเสี่ยงกับระดับการศึกษา ส่วนที่ 6.3
แสดงผลความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางการเงิน ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง ทัศนคติของครัวเรือน กับการ
พึ่งพารายได้จากยางพารา และส่วนที่ 6.4 การรู้จักและความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า
6.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจ าแนกตามภาค
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้เป็นการใช้สถิติเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปในครัวเรือน ข้อมูลทาง
สังคมและเศรษฐภาวะของครัวเรือน ข้อมูลเบื้องต้นในการท าเกษตรทั่วไป ข้อมูลเบื้องต้นในการปลูกยางพารา
ของครัวเรือนรวมถึงการรู้จักและความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า ความรู้ทางด้านทักษะการเงิน
ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง และทัศนคติเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต
ตารางที่ 6.1 แสดงจ านวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา
รายย่อย พบว่า โดยทั่วไปเกษตรกรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็น 58.84% และส่วนใหญ่มี
อายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี คิดเป็น 33.33% อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครัวเรือนถึง 69.19% โดยมี
ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 6 หรือต่ ากว่ามากที่สุด คิดเป็น 64.90% เมื่อพิจารณาแยกตามภาค พบว่า
กลุ่มตัวอย่างในภาคอีสานและภาคใต้ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี คิดเป็น 47.06% และ 29.08%
ตามล าดับ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (32.56%) อีกทั้งกลุ่ม
ตัวอย่างในทุกภาคส่วนใหญ่เป็นหัวหน้าครัวเรือน และมีโครงสร้างระดับการศึกษาคล้ายกัน ยกเว้นระดับ
การศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปนั้นเกษตรกรในภาคตะวันออกมีสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ 18.60% ในขณะที่เกษตรกร
ในภาคอีสานมีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปเพียง 2.94% รวมทั้งเกษตรกรในภาคอีสานส่วนใหญ่นอกจาก
ปลูกยางแล้วยังท านาควบคู่ไปด้วยถึง 56.33% ในขณะที่เกษตรกรในภาคตะวันออกไม่ได้ประกอบอาชีพท านา
เลย
52