Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 6.2 แสดงจ านวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างทางสังคมและเศรษฐภาวะของครัวเรือน พบว่า
กลุ่มตัวอย่างนี้มีที่ดินทั้งหมดโดยเฉลี่ย 21.69 ไร่ โดยที่กลุ่มตัวอย่างในภาคตะวันออกมีที่ดินโดยเฉลี่ยสูงสุด
37.84 ไร่ รองลงมาคือภาคอีสานมี 31.67 ไร่ และภาคใต้ 14.87 ไร่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่ามีเงินฝากในช่วง
0 – 10,000 บาท มีจ านวนมากที่สุด คิดเป็น 55.05% รองลงมาคือ มีเงินฝากในช่วง 10,000 – 50,000 บาท
คิดเป็น 29.29% และผู้ที่มีเงินฝากมากกว่า 200,000 บาทขึ้นไป มีจ านวนน้อยที่สุด คิดเป็น 4.55% อีกทั้งกลุ่ม
ตัวอย่างส่วนใหญ่ฝากเงินกับสถาบันชุมชน เช่น สหกรณ์ กลุ่มออมทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น คิดเป็น
45.36% รองลงมาได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป คิดเป็น 23.15% ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร (ธ.ก.ส.) คิดเป็น 22.33% และล าดับสุดท้าย คือธนาคารออมสิน คิดเป็น 9.17% ส่วนเป้าหมาย
หลักในการออมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเป้าหมายในการออมเพื่อยามฉุกเฉินเป็นหลัก คิดเป็น 31.99%
รองลงมาได้แก่ การศึกษาบุตรหลาน คิดเป็น 28.98% เพื่อยามชรา คิดเป็น 25.64% โดยมีการออมเพื่อการ
ลงทุนและซื้อทรัพย์สินเพียง 13.39% นอกจากนั้นเกษตรกรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการซื้อประกันใด ๆ
เลย ถึง 54.04%
ส าหรับในด้านเงินกู้ยืม แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินกู้ยืมไม่เกิน 10,000 บาท คิดเป็น
45.96% และมีเพียง 9.09% เท่านั้นที่มีเงินกู้ยืมระหว่าง 100,001-200,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึง
49.75% มีการกู้กับสถาบันชุมชน รองลงมาได้แก่ กู้จาก ธ.ก.ส. คิดเป็น 28.57% กู้จากญาติพี่น้อง คิดเป็น
12.32% กู้จากธนาคารพาณิชย์/ธนาคารออมสิน คิดเป็น 8.62% และสุดท้ายกู้จากนายทุนนอกระบบเพียง
0.74% ส าหรับเป้าหมายหลักในการกู้ยืม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเป้าหมายหลักในการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายอุปโภค
บริโภคอื่น ๆ เป็นหลัก คิดเป็น 26.80% รองลงมาได้แก่ เพื่อการศึกษาของลูกหลาน คิดเป็น 19.18% เพื่อวาง
แผนการลงทุน คิดเป็น 16.70% เพื่อจ่ายหนี้ก้อนเดิม คิดเป็น 14.85% เพื่อยามฉุกเฉิน คิดเป็น 13.61% และ
สุดท้ายเพื่อซื้อทรัพย์สินเพียง 8.87%
54