Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                         บทที่ 5

                          การส ารวจพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อย


                       การเข้าใจพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารารายย่อยเป็นประเด็นส าคัญที่

               ต้องท าการศึกษา เพื่อที่จะได้ทราบถึงความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเพื่อการบริหารความเสี่ยง
               ชองเกษตรกร ซึ่งความต้องการใช้หรือไม่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์การเงินดังกล่าวในการบริหารความเสี่ยงของ

               เกษตรกรอาจมีปัจจัยที่เป็นตัวก าหนดหลายด้าน เช่น ทัศนคติทางด้านความเสี่ยง (Risk Attitude) ความรู้
               ทักษะทางด้านการเงิน (Financial Literacy) และต้นทุนของการใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยง

               (Transaction Costs) เป็นต้น โดยการศึกษานี้ได้ก าหนดสมมุตฐานของปัจจัยหลักที่อาจจะมีผลต่อความ

               ต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าของเกษตรกร ดังนี้ 1) ความต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพารา
               ล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ทักษะทางด้านการเงิน และ 2) ความต้องการ

               ใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติทางด้านความเสี่ยง
               กล่าวคือเกษตรกรที่มีความรู้ทักษะการเงินที่ดีมีแนวโน้มที่ต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้ามากกว่า

               เกษตรกรที่ขาดความรู้ทักษะการเงิน ส่วนเกษตรกรที่ชอบความเสี่ยงมีแนวโน้มจะไม่ต้องการใช้ตลาดซื้อขาย

               ยางพาราล่วงหน้า ขณะที่เกษตรกรที่ไม่ชอบความเสี่ยงน่าจะต้องการใช้ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในการ
               ป้องกันความเสี่ยง ซึ่งในการทดสอบสมมติฐานดังกล่าวจะใช้การหาค่าถดถอยแบบโลจิสติก (Logistic

               Regression) โดยใช้ข้อมูลการส ารวจเป็นหลัก โดยมีตัวแปรตาม (Dependent variable) คือความต้องการใช้

               ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้า ส่วนตัวแปรตาม (Independent variables) คือความรู้ทักษะการเงิน ทัศนคติ
               ด้านความเสี่ยง โดยมีตัวแปรควบคุม (Control variables) เช่น ลักษณะผลิตภัณฑ์ยางของเกษตรกร (ยางดิบ

               ยางถ้วย และยางแผ่นรมควัน) ขนาดพื้นที่ปลูกยาง และการพึ่งพารายได้จากยาง เป็นต้น


                       ในบทนี้จะน าเสนอรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างแสดงในส่วนที่ 5.1 และส าหรับรายละเอียดโครงสร้าง

               ของแบบสอบถามที่ใช้ในการส ารวจได้น าเสนอไว้ในส่วนที่ 5.2


               5.1 กลุ่มตัวอย่าง


                       ผู้วิจัยก าหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการส ารวจข้อมูลจ านวน 400 ครัวเรือน เนื่องจากข้อจ ากัดทางด้าน

               งบประมาณ จ านวนตัวอย่างครัวเรือนในแต่ละภาคจะพิจารณาจากสัดส่วนพื้นที่การเพาะปลูกยางพาราในปี
               พ.ศ. 2558 โดยภาคใต้มีพื้นที่ปลูกยางคิดเป็น 63% ของพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งหมด ภาคเหนือรวมกับ

               ภาคอีสานคิดเป็น 26% ของพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งหมด และภาคกลางรวมกับภาคตะวันออกคิดเป็น

               11% ของพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งหมด คณะวิจัยเลือกท าการส ารวจข้อมูลจาก 3 จังหวัด ที่เป็นตัวแทนของ
               แต่ละภาค คือ จังหวัดสงขลา (ภาคใต้), จังหวัดอุบลราชธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/เหนือ), และจังหวัด

               จันทบุรี (ภาคตะวันออก/กลาง) เนื่องจากจังหวัดดังกล่าวมีส านักงานของการยางแห่งประเทศไทยซึ่งจะ





                                                                                                        45
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63