Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค
ศักรินทร์ นนทพจน์ และ มัลลิกา สมพลกรัง. (2560). การจัดการห่วงโซ่อุปทานปลาน ้าจืดธรรมชาติ
สู่การเพิ่มมูลค่าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบห่วงโซ่อุปทาน พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเลือก
ซื้อปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืดธรรมชาติ รวมทั้งรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดของ
ชาวประมงในการจัดจ าหน่ายปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืดจากแหล่งธรรมชาติ ในเขต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จ านวน 6 จังหวัด ประกอบด้วย หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น
กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม วิธีการศึกษา 1) ใช้การสัมภาษณ์และระดมความคิดเห็นกลุ่ม
ชาวประมงและกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาน้ าจืดธรรมชาติ 2) ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลความ
คิดเห็นของผู้บริโภคต่อการเลือกซื้อปลาสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืดธรรมชาติ กลุ่มละ
420 ตัวอย่าง และ 3) วิเคราะห์รูปแบบและกลยุทธ์การตลาดของชาวประมงในการจัดจ าหน่ายปลา
สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ าจืดธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบของโซ่อุปทานมี
ลักษณะการขายผ่านพ่อค้าคนกลางและผู้บริโภคจะเดินทางมาซื้อเองที่ตลาด 2) พฤติกรรมของ
ผู้บริโภค พบว่า ปัจจัยด้านความสด และความสะอาดของปลาสดและผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูปมีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อในระดับที่สูง และ 3) การรักษาคุณภาพ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการจัด
กิจกรรมการตลาด คือกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส าคัญ จากผลการศึกษา ภาครัฐควรมีการประกาศราคา
พื้นฐานของปลาธรรมชาติแต่ละชนิด และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ให้กับชาวประมง
นอกจากนี้ควรส่งเสริมการบริโภคปลาธรรมชาติ