Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       18


               กระทบตอชีวิตและสิ่งแวดลอมของชุมชน และอาจถึงขั้นรุนแรงในที่สุด ถาไมมีการกําจัด การบําบัดของเสีย
               จากฟารมตั้งแตตนจะเปนปญหาทางสังคมและเศรษฐกิจได


               2.4 ผลิตภัณฑนมในประเทศไทย
                       มลศิริ วิโรทัยและปาริฉัตร หงสประภาส (2550) ไดสรุปผลิตภัณฑจากนมที่ผลิตในประเทศไทย มีดังนี้
                       1. นมโคสดหรือนมพรอมดื่ม ผลิตภัณฑนมพรอมดื่มอาจแยกเปน 3 ชนิดตามอุณหภูมิที่ใชในการฆา

               เชื้อ มีดังนี้
                              1.1 นมพาสเจอไรซ (pasteurized milk) คือ นมที่ผานการฆาเชื้อโดยใชอุณหภูมิไมต่ํากวา
               65 องศาเซลเซียส และคงอยูที่อุณหภูมินี้ไมนอยกวา 30 นาที หรือ ทําใหรอนไมต่ํากวา 72 องศาเซลเซียสและ

               คงที่ที่อุณหภูมินี้ไมนอยกวา 16 วินาที แลวจึงทําใหเย็นลงทันทีที่ 5 องศาเซลเซียสหรือต่ํากวา ความรอนที่ใช
               สามารถทําลายจุลินทรียที่กอใหเกิดโรคในคน ทําใหนมปลอดภัยในการบริโภค แตความรอนที่ใชไมทําลาย
               จุลินทรียที่ทําใหนมเสีย ซึ่งทําใหนมพรอมดื่มเสียและเปรี้ยว ดังนั้นนมประเภทนี้จึงมีอายุเก็บสั้น ประมาณ 3-7
               วัน และตองเก็บที่อุณหภูมิไมต่ํากวา 10 องศาเซลเซียส นมพาสเจอรไรซที่มีขายในทองตลาดอาจบรรจุภาชนะ

               พลาสติกลักษณะเปนถุงหรือขวดหรืออาจบรรจุกลองกระดาษลามิเนต กอนซื้อผูบริโภคควรอานวันหมดอายุที่
               ระบุไวดวยเพื่อปองกันการบริโภคนมเสีย
                              1.2 นมสเตอริไลซ (sterilized milk) คือ นมที่ผานการฆาเชื้อที่อุณหภูมิไมต่ํากวา 100 องศา
               เซลเซียส โดยใชเวลาที่เหมาะสม อุณหภูมินี้สามารถทําลายทั้งจุลินทรียที่กอใหเกิดโรคและจุลินทรียที่ทําใหนม

               เสียดวย จึงสามารถเก็บที่อุณหภูมิหองไดนาน ภาชนะบรรจุนมชนิดนี้มักนิยมบรรจุฝาปดสนิทและใชความรอน
               ฆาเชื้อ แตเนื่องจากการใชอุณหภูมิที่สูง อาจทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงสารอาหารตาง ๆ ในนม เชน โปรตีน
               น้ําตาลนม ไขมัน ทําใหนมมีสี กลิ่นและรสชาติตางไปจากน้ํานมดิบ เชน มีสีน้ําตาลมากขึ้น มีรสขมเล็กนอย
               หรือมีกลิ่นนมที่ผานจากการตม

                              1.3 นมยูเอชที (Ultra High Temperature, UHT) คือ นมที่ผานการฆาเชื้อโดยใชอุณหภูมิ
               ไมต่ํากวา 133 องศาเซลเซียสเปนเวลาไมนอยกวา 1 วินาที แลวบรรจุในภาชนะและสภาวะที่ปลอดเชื้อ ความ
               รอนที่ใชสามารถทําลายจุลินทรียที่กอใหเกิดโรคและจุลินทรียที่ทําใหนมเสีย การใชเวลาในการฆาเชื้อที่สั้นชวย

               ลดการเปลี่ยนสีหรือกลิ่นรสนมตมได นมชนิดนี้มักบรรจุในกลองกระดาษลามิเนตแข็งทรงสี่เหลี่ยม สามารถเก็บ
               ไดนานประมาณ 5-6 เดือนที่อุณหภูมิหอง ถายังไมเปดภาชนะเปนผลิตภัณฑนมพรอมดื่มที่ไดรับความนิยม
               มากมายในประเทศ
                       2. นมขน (Evaporated milk หรือ Condensed milk) เปนนมที่ผานการระเหยน้ําออกไปบางสวน
               จึงทําใหมีความเขมขนมากขึ้นและอาจทําใหหวานโดยน้ําตาล ไดแก

                              2.1 นมขนหวาน (Sweetened condensed milk) เปนนมที่มีน้ํานอยกวาที่มีอยูในน้ํานม
               ดิบและมีการเติมน้ําตาลทรายเพื่อใหมีความหวานมาก มักนิยมใชชงเครื่องดื่มตาง ๆ ปริมาณน้ําตาลในนมขน
               หวานประมาณ 47-56 % ทําใหนมขนหวานไมเสื่อมเสียงายแมเก็บที่อุณหภูมิหอง การผลิตนมขนนั้นอาจใชวิธี

               นําน้ํานมดิบมาระเหยน้ําออกไปบางสวนหรืออาจใชนมผงพรองมันเนยผสมน้ํา เติมน้ํามันเนยหรือน้ํามันพืชแลว
               นําไปผานกระบวนการทําใหเปนเนื้อเดียวกันที่เรียกการโฮโมจิไนซ (Homogenization) และปรับมาตรฐานให
               มีปริมาณน้ําในผลิตภัณฑตามตองการ หามใชนมขนหวานเลี้ยงทารกเพราะนอกจากมีน้ําตาลแลวจะมี
               สารอาหารอื่น ๆ อยูนอย ไมเพียงพอความตองการของทารก ในทองตลาดมีนมขนหวานบรรจุในกระปองโลหะ

               เคลือบดีบุกหรืออาจบรรจุในหลอดบีบเพื่อใหสามารถพกพาไปใชไดสะดวก
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35