Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       5)  โคพันธุ์แองกัส  มีถิ่นก�าเนิดที่ประเทศสก๊อตแลนด์ อาจมีสีแดงเรียกว่าแองกัสแดง ล�าตัว
               มีสีด�าเป็นส่วนใหญ่ หัวเล็ก เป็นโคขนาดใหญ่ที่ถูกปรับปรุงให้มีล�าตัวยาว เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ

               1,000 – 1,600 กิโลกรัม เพศเมียมีน�้าหนักตัวประมาณ 700 – 900 กิโลกรัม มีการเจริญเติบโตเร็ว เนื้อนุ่ม
               เนื้อมีไขมันแทรกดี และเป็นพันธุ์โคที่กรมปศุสัตว์ใช้ในการผลิตโคลูกผสม
                       6)  โคบลอนด์ดาคิแตน ก�าเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส มีกล้ามเนื้อแข็งแรง สะโพกใหญ่

               อกลึก กล้ามเนื้อส่วนหลังพัฒนาดีมาก แม่โคมีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 150 ซม. น�้าหนักระหว่าง 850 – 1,000 กก.
               และมีกระดูกเชิงกรานกว้างท�าให้คลอดลูกง่ายแม้ว่าลูกโคจะมีขนาดใหญ่ ส่วนพ่อโคสูงเฉลี่ย 160 ซม. น�้าหนัก

               อยู่ระหว่าง 1,200 – 1,500 กก. โคเนื้อพันธุ์นี้มีนิสัยเชื่อง เขามีลักษณะโค้งลง สีเหมือนเปลือกข้าวโพด จมูกสีชมพู
               กีบสีซีด ให้เนื้อคุณภาพดี เนื้อมีความละเอียดและนุ่มมาก ทั้งยังมีไขมันน้อย จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
               เนื้อไขมันต�่า และเป็นพันธุ์โคที่กรมปศุสัตว์ใช้ในการผลิตโคลูกผสม

                       7)  โคพันธุ์บีฟมาสเตอร์ เป็นพันธุ์โคสังเคราะห์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์กันของโคเนื้อ 3 สายพันธุ์
               ได้แก่ โคบราห์มัน 50 % เฮียร์ฟอร์ด 25 % และชอร์ดฮอร์น 25 % ซึ่งปรับปรุงพันธุ์ในสหรัสอเมริกา
               โดยการพัฒนาพันธุ์จะอยู่บนพื้นฐานการคัดเลือกจากลักษณะทางเศรษฐกิจ 6 ลักษณะ ได้แก่ ความสมบูรณ์พันธุ์

               ความสามารถในการให้นม การเจริญเติบโตดี โครงสร้างล�าตัวดี การปรับตัว และอารมณ์ที่ดี
                       8)  โคพันธุ์ตาก เป็นโคเนื้อพันธุ์สังเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดยกรมปศุสัตว์ที่ศูนย์วิจัยและบ�ารุงพันธุ์สัตว์ตาก
               เพื่อพัฒนาเป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว มีเนื้อนุ่มมีไขมันแทรกระดับหนึ่ง เพื่อทดแทนการน�าเข้าเนื้อคุณภาพดี

               จากต่างประเทศ โดยมีแผนการสร้างคือในชั่วที่ 1 จะใช้พ่อชาร์โรเลส์ผสมกับแม่บราห์มัน แล้วน�าลูกเพศเมีย
               (ชาร์โรเลส์ 50% กับบราห์มัน 50%) ไปผสมกับพ่อพันธุ์บราห์มัน (ชั่วที่ 2) ลูกเพศเมียที่เกิดจากจากชั่วที่ 2

               (ชาร์โรเลส์ 25% กับบราห์มัน 75%) ไปผสมกับพ่อชาร์โรเลส์ (ชั่วที่ 3) ลูกที่เกิดจากชั่วที่ 3 จะเรียกว่าโคพันธุ์ตาก
               (ชาร์โรเลส์ 62.5% กับบราห์มัน 37.5%) แล้วคัดเพศผู้จากชั่วที่ 3 ผสมกันเองไปเรื่อยๆ จนได้โคเนื้อพันธุ์ตาก
               ในปัจจุบัน เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ 900–1,000 กิโลกรัม เพศเมียมีน�้าหนักตัวประมาณ 600–700 กิโลกรัม

               ล�าตัวมีน�้าตาลอ่อนถึงสีครีม เจริญเติบโตเร็ว เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ทนต่ออากาศร้อนได้ดี
                       9)  โคพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นโคเนื้อพันธุ์สังเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดยกรมปศุสัตว์ที่สถานีวิจัยทดสอบ

               พันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี โดยใช้น�้าเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทอล มีแผนการสร้างคือในชั่วที่ 1 จะใช้พ่อซิมเมนทอลผสมกับ
               แม่บราห์มัน ลูกชั่วที่ 1 (ซิมเมนทอล 50% กับบราห์มัน 50%) จะแล้วคัดเพศผู้และเพศเมียผสมกันเองไปเรื่อยๆ
               จนได้โคเนื้อพันธุ์กบินทร์ในปัจจุบัน เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ 900 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมียมีน�้าหนักตัว

               ประมาณ 600 – 700 กิโลกรัม ล�าตัวมีสีแดง มีหน้าด่างขาวคล้ายซิมเมนทอล
                       10) โคพันธุก�าแพงแสน  เป็นโคเนื้อพันธุ์สังเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               โดยใช้น�้าเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเลส์ มีแผนการสร้างคล้ายกับโคพันธุ์ตาก เพียงแต่แม่พันธุ์ในช่วงที่ 1 เป็นแม่พันธุ์

               ลูกผสมบราห์มันพื้นเมือง ในขณะที่โคพันธุ์ตากใช้แม่พันธุ์บราห์มันพันธุ์แท้ ดังนั้นโคพันธุ์ก�าแพงแสนจะมีสายเลือด
               พื้นเมือง 25% บราห์มัน 25% และชาร์โรเลส์ 50% เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ 800 – 1,000 กิโลกรัม เพศเมีย
               มีน�้าหนักตัวประมาณ 500 – 600 กิโลกรัม ล�าตัวมีน�้าตาลอ่อนถึงสีครีม เหมือนโคพันธุ์ตาก













                                                                             คู่มือปฏิบัติ การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเกษตรกร  27
                                                                       Commercial Beef Cattle Production Handbook Farmer Edition
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34