Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                    โคพันธุ์สังเคราะห์ หมายถึง คือกลุ่มโคที่มนุษย์สร้างขึ้นมา โดยจะจับเอาโคสองตระกูลคือ โคเมืองหนาว
            ผสมกับโคเมืองร้อน ส่วนใหญ่จะให้โคมันมีระดับสายเลือดโคเมืองหนาว 5/8 และโคเมืองร้อน (บราห์มัน) 3/8

            หรือมีเลือดโคเมืองหนาว 62.5% และโคเมืองร้อน 37.5% โดยน�าข้อดีของโคเมืองหนาวและโคเมืองร้อน
            มารวมไว้ด้วยกัน สามารถเลี้ยงในเขตร้อนได้ สหรัฐอเมริกาสร้างโคพันธุ์สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อให้สามารถเลี้ยงได้
            ในบางพื้นที่ของอเมริกาซึ่งบางช่วงมีอากาศร้อน เช่น โคชาร์เบรย์ แบรงกัส ซิมบราห์ บีฟมาสเตอร์ เป็นต้น


            พันธุ์โคเนื้อที่เลี้ยงในประเทศไทย

                    1)  โคพื้นเมือง เป็นโคที่มีขนาดเล็กจัดอยู่ในกลุ่มของโคพันธุ์ซีบู (Bos indicus) แต่มีลักษณะบางลักษณะ

            บางลักษณะเหมือนกับโคยุโรป คือ มีเหนียงคอเล็กน้อย เหนียงบาง หนังหุ้มลึงค์แนบชิดติดพื้นท้อง ลักษณะอื่นๆ
            คือ ขนสั้นเกรียน สีมีหลายสีตั้งแต่แดง ด�า น�้าตาล เหลือง นวล หรือขาวเป็นต้น หน้าผากแคบ ตระโหนกเล็ก
            ใบหูเล็ก กางขนานล�าตัว นิสัยปราดเรียว ตื่นตกใจง่าย มีข้อดีคือเลี้ยงง่าย หากินเก่ง กินอาหารไม่เลือก ทนทาน

            ต่อโรคและแมลงเมืองร้อนได้ดี โคพื้นเมืองไทยปัจจุบันแบ่งออกเป็นสี่สายพันธุ์ได้แก่โคสายอีสาน สายภาคใต้
            สายภาคกลาง (โคลาน) เพศผู้มีน�้าหนักตัว 350 – 400 กิโลกรัม เพศเมียมีน�้าหนักตัว 200 – 250 กิโลกรัม

            และสายภาคเหนือ (ขาวล�าพูน) ซึ่งมีขนาดน�้าหนักตัวสูงกว่า คือ เพศผู้มีน�้าหนักตัว 350 – 450 กิโลกรัม เพศเมีย
            มีน�้าหนักตัว 300 – 350 กิโลกรัม และเป็นโคที่ถูกใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
                    2)  โคไทยบราห์มัน เป็นโคที่จัดอยู่ในตระกูลของโคซีบู โดยข้อเท็จจริงแล้วโคบราห์มันไม่ใช่โคพันธุ์แท้

            ดั้งเดิมเป็นพันธุ์ที่สหรัฐอเมริกาสังเคราะห์ขึ้นจากโคอินเดียหลายสายพันธุ์ เช่น อองโกล แครงเกจ กีร์ กฤษณะแวลเลย์
            เรียกชื่อว่า โคอเมริกันบราห์มัน เดิมถูกน�าเข้ามาจากสหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2497 ปัจจุบันอาจมี
            บางส่วนที่น�าเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย แต่ส่วนใหญ่พันธุกรรมของโคบราหมันที่มีอยู่ในโลกส่วนมากจะมี

            การเชื่อมโยงพันธุกรรมกันหมดแล้วเนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านการผสมพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวาง ประเทศไทย
            น�าเข้าพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นชุดใหญ่ใหญ่ครั้งสุดท้ายประมาณปี พ.ศ.2536 ส่วนการน�าน�้าเชื้อเข้ามานั้นก็มีเข้ามาเรื่อยๆ
            ดังนั้นโคบราห์มันในประเทศไทยจึงถูกเรียกว่าโคไทยบราห์มันได้เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นโคที่เกิดในประเทศไทย

            สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ 800 – 1,000 กิโลกรัม
            เพศเมียมีน�้าหนักตัวประมาณ 500 – 600 กิโลกรัม มีสองสีคือสีเทาและสีแดง เป็นโคที่มีขนาดโครงร่าง

            ปานกลาง มีตระโหนกใหญ่ มีเหนียงหย่อนยานค่อนข้างมาก เหนียงพับซ้อนเป็นหลืบ หนังหุ้มลึงค์หย่อนยาน
                    3)  โคพันธุ์ชาร์โรเลส์ มีถิ่นก�าเนิดที่ประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดทั้งตัว รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า
            ขาสั้น ล�าตัวกว้างและลึก มีกล้ามเนื้อมาก เป็นโคขนาดใหญ่ เพศผู้มีน�้าหนักตัวประมาณ 1,100 กิโลกรัม เพศเมีย

            มีน�้าหนักตัวประมาณ 700 – 800 กิโลกรัม มีการเจริญเติบโตเร็ว เนื้อนุ่ม เนื้อมีไขมันแทรกดีเป็นที่ต้องการ
            ของตลาดเนื้อ โคพันธุ์นี้เข้ามาในรูปของน�้าเชื้อเพื่อจะน�ามาผสมกับแม่โคพื้นฐานที่มีอยู่ทั่วไปของไทยเพื่อผลิต

            ลูกผสม แล้วน�าลูกที่ได้น�าไปเลี้ยงขุน และเป็นพันธุ์โคที่กรมปศุสัตว์ใช้ในการพัฒนาเป็นโคพันธุ์ตากในปัจจุบัน
            หรือโคพันธุ์ก�าแพงแสนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตก�าแพงแสน
                    4)  โคพันธุ์ซิมเมนทอล มีถิ่นก�าเนิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม ล�าตัวมีสีน�้าตาลแดงเข้ม

            จนถึงสีเหลืองทอง มีสีขาวกระจายแทรกทั่วไป หน้าขาว ท้องขาว ขาขาว เป็นโคขนาดใหญ่ เพศผู้มีน�้าหนักตัว
            ประมาณ 1,100 – 1,300 กิโลกรัม เพศเมียมีน�้าหนักตัวประมาณ 650 – 800 กิโลกรัม มีการเจริญเติบโตเร็ว
            เนื้อนุ่ม เนื้อมีไขมันแทรกดี และเป็นพันธุ์โคที่กรมปศุสัตว์ใช้พัฒนาเป็นโคพันธุ์กบินทร์บุรี






      26    คู่มือปฏิบัติ การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเกษตรกร
            Commercial Beef Cattle Production Handbook Farmer Edition
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33