Page 33 -
P. 33

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






               3.2   กำรคัดเลือกพันธุ์โคเนื้อ


                       การคัดเลือกพันธุ์ เป็นกระบวนการคัดเลือกสัตว์เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ แล้วให้มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้
               ลูกสัตว์ที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจตรงตามลักษณะที่เราต้องการ ซึ่งการคัดเลือกจ�าเป็นต้องมีเป้าหมายการคัดเลือก

               ซึ่งหมายถึงลักษณะที่เราต้องการให้ลูกสัตว์ที่เกิดขึ้นมามีลักษณะตรงตามที่เราต้องการ
                       โดยลักษณะทางเศรษฐกิจในโคเนื้อจะมีหลากหลายลักษณะได้แก่
                       1)  ลักษณะความเป็นโคเนื้อ เป็นลักษณะภายนอกที่เรามองเห็นในการคัดเลือก สิ่งแรกที่ต้อง

               ค�านึงถึงคือต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์ ดังนั้นจะต้องทราบลักษณะประจ�าพันธุ์ของโคเนื้อแต่ละพันธุ์ จากนั้น
               ต้องทราบลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นโคเนื้อที่ดีได้แก่ความกว้าง ความยาว ความลึกของร่างกาย ความกลมกลืน
               ของร่างกายมองแล้วมีความเป็นโคเนื้อ ลักษณะผิวหนังหนา มีความยืดหยุ่นสูง ลักษณะมัดกล้ามเนื้อที่บ่งบอก

               ว่าให้เนื้อที่มีปริมาณที่มากกว่า หากเป็นพ่อพันธุ์ต้องพิจารณาขนาดและลักษณะของลูกอัณฑะ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ
               เรื่องความสมบูรณ์พันธุ์สูงตามไปด้วย และต้องไม่มีลักษณะที่ผิดปรกติอื่นๆ เช่น ลูกอัณฑะข้างเดียว ขากระตุก
               ซี่โครงสุดเป็นต้น

                       2)  ลักษณะการเจริญเติบโต เช่น น�้าหนักแรกเกิด น�้าหนักหย่านม น�้าหนักเมื่ออายุ 1 ปี น�้าหนัก
               เมื่อเป็นหนุ่มเป็นสาว อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน เป็นต้น ส่วนใหญ่ลักษณะเหล่านี้เราต้องการสัตว์ที่มีน�้าหนักตัว

               ที่มากกว่าต้องดีกว่า หรืออัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าดีกว่า ยกเว้นน�้าหนักแรกเกิด ในโคเนื้อเราไม่ต้องการ
               สัตว์ที่มีน�้าหนักแรกเกิดสูง เนื่องจากจะส่งผลต่อการคลอดยากตามมา แต่เราต้องการให้ลูกสัตว์มีการเจริญเติบโตดี
               หลังจากคลอด หรือน�้าหนักหย่านมสูงนั้นเองซึ่งหมายถึงมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตดี และน�้านม

               ของแม่ก็ดีด้วย
                       3)  ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ ลักษณะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการจะได้ลูกสัตว์รุ่นใหม่เข้ามาเติม

               ในฝูง ในเพศเมียได้แก่อายุเมื่อเป็นสาวเร็ว อายุเมื่อคลอดลูกตัวแรกเร็ว อัตราการผสมติดสูง ในเพศผู้ เช่น
               อายุเป็นหนุ่มเร็ว มีความสามารถผสมพันธุ์เก่ง น�้าเชื้อมีความเข็มข้นสูง ตัวอสุจิมีความผิดปรกติน้อย การเคลื่อนไหวดี
               เป็นต้น

                       4)  ลักษณะคุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ เป็นลักษณะที่เมื่อน�าโคเนื้อส่งโรงเชือดแล้วจะต้องให้เนื้อ
               และคุณภาพเนื้อสูงได้แก่ เปอร์เซ็นต์ซากสูง เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูง เปอร์เซ็นต์กระดูก ไขมันน้อย ลักษณะเนื้อแดง
               มีความนุ่มมาก ความเหนียวน้อย ไขมันแทรกในเนื้อมาก เกรดเนื้อสูงเป็นต้น

                       ลักษณะทางเศรษฐกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่สามารถวัดค่าได้ โดยการชั่ง ตวง วัดได้ ค่าเหล่านี้
               เป็นตัวเลขที่มีความต่อเนื่องที่น�ามาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ มีค่าที่มากกว่า น้อยกว่าค่าเฉลี่ย
               ดังนั้นจึงสามารถคัดเลือกลักษณะเหล่านี้ที่เราต้องการได้ บางลักษณะต้องคัดค่าที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย เช่น น�้าหนัก

               หย่านม อัตราการเจริญเติบโต บางลักษณะต้องคัดลักษณะที่มีค่าต�่ากว่าค่าเฉลี่ย เช่น น�้าหนักแรกเกิด
               อายุเมื่อให้ลูกตัวแรกเป็นต้น วิธีการคัดเลือกอาจคัดเลือกทีละลักษณะ หรือหลายลักษณะไปพร้อมๆ กัน

               เรียกว่าการใช้ดัชนีในการคัดเลือก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่พร้อมส�าหรับกรคัดเลือก อย่างไรก็ตามก็มีบางลักษณะ
               ที่ไม่อาจวัดค่าได้ เช่น ความสวยงาม ลักษณะการเป็นโคเนื้อ แต่ก็สามารถประเมินได้จากการดูในภาพรวม
               ของผู้คัดเลือก การประกวดและตัดสินโคเนื้อก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อ

               ในอนาคตว่ามีแนวโน้มให้เป็นไปในทิศทางใด






                                                                             คู่มือปฏิบัติ การผลิตโคเนื้อเชิงการค้า ส�าหรับเกษตรกร  31
                                                                       Commercial Beef Cattle Production Handbook Farmer Edition
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38