Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4.2 การเชาที่ดินเพื่อทําการเกษตรของครัวเรือน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรในหลายๆ มิติดังที่ไดกลาวมาแลว
กอนหนานี้ รวมถึงการเชาที่ดินเพื่อทําการเกษตร ลวนเกิดจากการปรับตัวของเกษตรกรตอสภาวะ
แวดลอมที่เปลี่ยนแปลงไปและเนื่องจากราคาสินคาเกษตรสะทอนถึงการตอบสนองของผูผลิตและผูบริโภค
ในตลาด ดังนั้นราคาสินคาเกษตรจึงเปนตัวแปรที่นาจะสามารถใชอธิบายเรื่องการเชาที่ดินเกษตรของ
ครัวเรือนไดเปนอยางดี อยางไรก็ตาม มีความเปนไปไดที่แมวาราคาจะเปนแรงจูงใจที่สําคัญตอการขยาย
พื้นที่ทําการเกษตร แตปรากฎวาการใชที่ดินเกษตรไมสอดคลองกับราคาสินคาในชวงเวลาเดียวกัน เนื้อหา
ในสวนนี้จะกลาวถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาสินคาเกษตรหลักของไทยในชวงป ค.ศ.2000-2013 ใน
ฐานะแรงจูงใจหลักตอการขยายพื้นที่ของเกษตรกร จากนั้นจะอภิปรายถึงบทบาทของการเชาที่ดินเทียบ
กับการขยายที่ดินดวยวิธีอื่น และสุดทาย จะอภิปรายถึงผลสรุปขอคิดเห็นของเกษตรกรเรื่องกําไรกับ
โอกาสและขอจํากัดในการขยายที่ดินทําการเกษตร
4.2.1 สถานะการเชาที่ดินเพื่อการเกษตร
การเชาและใหเชาที่ดินของเกษตรกรมีแนวโนมลดลง ทั้งในแงของขนาดที่ดินและสัดสวน
ครัวเรือนที่เขารวมในตลาดการเชาที่ดิน (ตาราง 4.16) โดยในป ค.ศ.2000 ครัวเรือนเกษตรเชาที่ดิน อยูที่
รอยละ 32.81 โดยมีพื้นที่เชาเฉลี่ยตอครัวเรือนอยูที่ 8.72 ไร แตในป ค.ศ.2013 ตลาดเชาที่ดินซบเซาลง
ครัวเรือนเกษตรเชาที่ดินเพียงรอยละ 22.92 โดยพื้นที่เชาเฉลี่ยตอครัวเรือนลดลงเหลือ 6.86 ไร สัดสวน
การเชาที่ดินที่ลดลงในขณะที่สัดสวนการปลอยเชาที่ดินของครัวเรือนก็ลดลงเชนเดียวกัน สอดคลองกับ
สมมติฐานที่วาเกษตรกรจําเปนตองนําที่ดินของตนเองมาทําการเกษตรมากขึ้นเนื่องจากที่ดินเกษตร
บางสวนถูกนําไปใชประโยชนนอกภาคเกษตร ในขณะที่แรงจูงใจในการนําที่ดินตนเองมาทําการเกษตรเพื่อ
รับสิทธิ์การชวยเหลือจากรัฐบาล และขนาดครัวเรือนที่เล็กลงพรอมๆ กับอายุหัวหนาครัวเรือนทึ่สูงขึ้น ก็
ลวนมีสวนทําใหพื้นที่เชาและปลอยเชาลดลง
ตาราง 4.16 จํานวนการเชาที่ดินเพื่อทําการเกษตร
2000 2003 2007 2010 2013
สัดสวนครัวเรือนที่เชาที่ดินจากผูอื่น 32.81% 36.20% 30.47% 28.65% 22.92%
พื้นที่เชาจากผูอื่นตอครัวเรือน(ไร) 8.72 10.86 8.42 7.88 6.86
สัดสวนครัวเรือนที่ปลอยที่ดินใหผูอื่นเชา 5.99% 9.11% 3.91% 4.43% 4.43%
พื้นที่ปลอยใหผูอื่นเชาตอครัวเรือน (ไร) 1.59 2.29 0.87 0.94 0.86
ที่มา: จากการคํานวนของผูวิจัยจากฐานขอมูล Townsend Thai Project (2013)
เมื่อพิจารณาในรายจังหวัดพบวา การเชาที่ดินเพื่อทําการเกษตรของครัวเรือนในภาคกลางสูงกวา
ภาคอีสานอยางชัดเจน และขนาดพื้นที่เชาเฉลี่ยสูงกวาพื้นที่ปลอยเชา (ตาราง 4.17) ยกตัวอยางเชน
ครัวเรือนเกษตรในจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีการเชาที่ดินจะเชาที่ดินเพื่อทําการเกษตรเฉลี่ย 31.96 ไรตอ
4-25