Page 37 -
P. 37

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   ประกันรายไดนั้น เกษตรกรตองนําเอกสารสิทธิ์ที่ดินไปขึ้นทะเบียนกับเกษตรอําเภอเพื่อที่จะไดสิทธิ์ในการ

                   ขายผลิตผลทางการเกษตรใหกับรัฐบาลที่ราคารับจํานําที่กําหนดไว (กรณีจํานํา) และสิทธิ์ในการรับเงิน
                   ชดเชยจากรัฐบาลในกรณีที่ราคาสินคาเกษตรต่ํากวาราคาประกัน (กรณีประกันรายได) สาเหตุที่จํานวน

                   ที่ดินประเภทอื่นๆ ลดลงอยางรวดเร็วในชวงโครงการประกันรายไดนาจะเปนเพราะจํานวนเงินชดเชยที่

                   รัฐบาลจายใหนั้นขึ้นอยูกับจํานวนพื้นที่เพาะปลูกที่เกษตรกรไดขึ้นทะเบียนไวกับทางราชการ ดังนั้นจึง
                   เปนไปไดวาเกษตรกรนําที่ดินประเภทนี้ไปขอเอกสารสิทธิ์เพื่อวัตถุประสงคดังกลาว ในขณะที่ผลประโยชน

                   จากโครงการจํานําสินคาเกษตรนั้นไมไดขึ้นอยูกับเนื้อที่โดยตรง แตขึ้นอยูกับปริมาณผลผลิตที่ผลิตไดและ

                   ถูกนําไปขายใหกับรัฐบาล

                          อีกหนึ่งประเด็นที่นาสนใจ คือ สัดสวนของที่ดินที่ทางราชการจัดสรรใหเปนที่ทําเกษตรกรรมมี

                   แนวโนมเพิ่มขึ้นทุกป โดยเฉพาะอยางยิ่งกรณีที่ดินเกษตรประเภท ส.ป.ก. และหนังสือใชประโยชนบน
                   แปลงที่ดิน เปนที่นาสนใจวาการเปลี่ยนแปลงของราคาสินคาเกษตรเปนปจจัยที่สงผลตอการเพิ่มที่ดิน

                   เกษตรในรูปแบบดังกลาวหรือไม ในกรณีที่รัฐบาลไมมีการแทรกแซงราคาสินคาเกษตร การตอบสนองของ

                   อุปทานสินคาเกษตรจะเกิดขึ้นแบบคอยเปนคอยไป ในทางตรงกันขาม มาตรการตางๆ ที่รัฐบาลนํามาใช
                   เพื่อแทรกแซงราคาสินคาเกษตร เชน โครงการจํานําขาว โครงการประกันรายได เปนตน จะสงผลให

                   จํานวนที่ดินเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว แตจํานวนที่ดินที่มีอยูอยางจํากัดในประเทศทําใหการ

                   ขยายที่ดินโดยการซื้อที่ดินทําไดยาก ดังนั้นเกษตรกรจึงจําเปนตองอาศัยทางเลือกอื่น เชน การเชาที่ดิน กา
                   ใชที่ดินที่ไดรับการจัดสรรจากภาครัฐ การใชที่ดินรกราง เปนตน หากการขยายที่ดินเกษตรเกิดขึ้นจากสอง

                   วิธีหลังก็อาจเกิดปญหาไดในอนาคตหากราคาสินคาเกษตรมีการปรับตัวลดลง เนื่องจากที่ดินเหลานี้แตเดิม

                   อาจเปนที่ปาไมหรือที่ดินที่ไมไดเหมาะสําหรับทําการเกษตร (marginal land) ดังนั้นการนําที่ดินมาใชจึง
                   เกิดตนทุนที่สูงกวาที่ดินเกษตรทั่วไป สงผลใหประสิทธิภาพในการผลิตต่ํา จากการศึกษาผลกระทบของ

                   การปฏิรูปเอกสารสิทธิ์ในที่ดินของไทยโดย Gine  (2005) พบวา ในพื้นที่ที่มีการปฏิรูปการถือครองกรรม

                   สิทธที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครัวเรือนเกษตรมีแนวโนมที่จะปลอยเชาแปลงที่ดินการเกษตรที่มีโฉนดใหกับ
                   เกษตรกรรายอื่น และเพาะปลูกในแปลงที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งอาจจะถูกยึดกลับโดยรัฐได หากวารัฐพบวา

                   เกษตรกรไมไดทําการเพาะปลูกดวยตนเองในพื้นที่นั้น ปญหาการใชที่ในพื้นที่ ส.ป.ก. เลวรายลงไปอีกหาก

                   การทําเกษตรไมสามารถสรางกําไรไดมากมายอันเปนผลจากราคาสินคาเกษตรตกต่ํา ในกรณีดังกลาว
                   เกษตรกรจะขาดแรงจูงใจในการทําการเกษตรและอาจนําที่ดินไปใชประโยชนอยางอื่นนอกเหนือจาก

                   การเกษตร (เชน การทองเที่ยว เปนตน) ซึ่งผิดวัตถุประสงคของการจัดสรรที่ดิน (ทั้งในรูป ส.ป.ก. ส.ค.

                   ส.ท.ก) และนํามาซึ่งขอพิพาทในของคนในพื้นที่และการฟองรองทางกฎหมายระหวางชุมชนกับรัฐ

                   4.1.6 แหลงที่มาของที่ดินเกษตรแปลงใหม

                          เมื่อพิจารณาแหลงที่มาของที่ดินเฉพาะครัวเรือนที่มีการนําที่ดินใหมเพิ่มเขามาทําการเกษตรในแต

                   ละป พบวา มีการนําที่ดินเขามาทําการเกษตรเพิ่มสูงถึง 726.63 ไร และ 946.22 ไร ในป ค.ศ.2000 และ








                                                            4-19
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42