Page 79 -
P. 79

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               6.2 ความสัมพันธ์ของการจัดการศัตรูพืชต่อทัศนคติด้านความเสี่ยง

                       เมื่อพิจารณาประเภทการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และ

               ราชบุรี ปีการผลิต 2558/59  พบว่า เกษตรกรตัวอย่างมีการจัดการศัตรูพืชทั้งแบบใช้สารเคมี และแบบไม่ใช้

               สารเคมี โดยเกษตรกรตัวอย่างที่มีการจัดการศัตรูพืชแบบใช้สารเคมี ประกอบไปด้วยเกษตรกรที่ใช้สารเคมี
               เพียงอย่างเดียว และเกษตรกรที่ใช้ทั้งสารเคมี และวิธีชีววิธีผสมผสานกัน ขณะที่เกษตรกรที่มีการปลูกผักแบบ

               อินทรีย์ จะไม่มีการใช้สารเคมีเลย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation) ของการจัดการศัตรูพืชที่มีต่อ

               ทัศนคติด้านความเสี่ยง พบว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีชีววิธี มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญทาง
               สถิติต่อระดับการยอมรับความเสี่ยง กล่าวคือ เมื่อค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธีเพิ่มขึ้น เกษตรกรมี

               ระดับการยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชโดยชีว
               วิธีที่สูง จะมีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่สูงด้วย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชโดยใช้

               สารเคมี มีความสัมพันธ์ทางสถิติต่อจ านวนเงินในการลงทุนปลูกพืชใหม่ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกัน
               ข้าม ซึ่งหมายถึง เกษตรกรที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชด้านสารเคมีสูง จะมียอมรับการลงทุนปลูกพืชใหม่

               ที่ลดลง (ตารางที่ 6.6) จากการลงพื้นที่ส ารวจภาคสนาม พบว่า เกษตรกรที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชที่

               เป็นสารเคมีจ านวนมาก เป็นเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยง โดยกล่าวว่า หากมีการระบาดของโรคแมลง เกษตรกร
               จะใช้สารเคมีในการฉีดพ่นทันที เนื่องจากกลัวผลผลิตเสียหาย และคาดว่าการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี ต้องใช้

               ทักษะความช านาญมาก และบางส่วนคิดว่าเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Marsh

               และ Gallardo (2009) ที่ท าการศึกษาการยอมรับการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการปลูกพืชเรือนกระจกใน
               สหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรมักพิจารณาเลือกวิธีการจัดการศัตรูพืช จากรายได้ที่คาดว่าจะได้รับจาก

               การผลผลิตควบคู่ไปกับต้นทุนจากการใช้ปัจจัยการผลิต ไปจนถึงจุดประสงค์ในการเพาะปลูกของตนเอง

               โดยเกษตรกรที่ไม่ยอมรับวิธีการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี ส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีนี้ไม่เหมาะสมต่อพื้นที่ฟาร์มของ
               ตนเอง รองลงมาให้เหตุผลว่าต้นทุนสูง และส่วนหนึ่งเห็นว่าวิธีนี้ต้องใช้ความช านาญ และอาจไม่มีประสิทธิภาพ

               จนอาจเกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้  อย่างไรก็ตาม เกษตรกรมีทัศนคติและการรับรู้ต่อการจัดการศัตรูพืช
               โดยชีววิธี โดยส่วนใหญ่สนใจที่จะเรียนรู้ และต้องการใช้ชีววิธี หากท าให้มีรายได้ และผลผลิตเทียบเท่ากับ

               ผลผลิตเดิมที่ได้จากการจัดการศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี (Marsh และ Gallardo, 2009)

























                                                           64
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84