Page 74 -
P. 74

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                         บทที่ 6

                                  ทัศนคติด้านความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกผัก


                       ในบทนี้น าเสนอทัศนคติด้านความเสี่ยงและปัจจัยที่มีผลต่อระดับการยอมรับความเสี่ยงของเกษตรกร
               ตัวอย่างผู้ปลูกพืชผักที่ท าการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต 2558/59 ซึ่งประกอบ

               ไปด้วย (1)  ทัศนคติด้านความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตรกร (2)  ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติด้านความเสี่ยงของ

               ครัวเรือนเกษตรกร มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

               6.1 ทัศนคติด้านความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตรกร

                      ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในด้านการเกษตร เป็นความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบ

               ทางลบ โดยอาจเป็นความเสี่ยงในด้านผลผลิต ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ฝน

               แล้ง น้ าท่วม การระบาดของโรคและแมลง เป็นต้น หรือเป็นความเสี่ยงในด้านราคา ซึ่งเป็นผลมาจากการ
               เปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน โดยความเสี่ยงเป็นผลมาจากความไม่แน่นอน เกิดจากเกษตรกรมีข้อมูล

               ไม่เพียงพอ ท าให้การคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตมีความคลาดเคลื่อน น าไปสู่ความเสี่ยงได้ (Hardaker et
               al., 2004) เกษตรกรแต่ละบุคคลล้วนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงและทัศนคติด้านความ

               เสี่ยงที่แตกต่างกัน เกษตรกรมักเลือกสิ่งที่ดีที่สุดและเกิดอรรถประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง

                      ทัศนคติด้านความเสี่ยงสามารถจัดแบ่งได้เป็น 3  กรณี คือ บุคคลที่กลัวความเสี่ยง (Risk  Averse)
               บุคคลที่ชอบความเสี่ยง (Risk Lover) และ บุคคลที่เป็นกลางต่อความเสี่ยง (Risk Neutral) (ประยงค์ เนตยา

               รักษ์, 2550) ทัศนคติด้านความเสี่ยงมีผลต่อการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการเกษตรใน
               หลายประเทศของเอเชีย (Tanaka, Camerer, and Nguyen, 2010; Nguyen and Leung, 2010; Nguyen,

               2011;  Liu,  2013) หัวหน้าครัวเรือนที่กล้าเสี่ยง มักยอมรับเทคโนโลยีใหม่  ทัศนคติด้านความเสี่ยงอาจ

               เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับเวลาและปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสามารถน าปัจจัยเหล่านั้นไปพัฒนาเป็นนโยบาย
               ต่อไปได้ (Liebenehn and Waibel, 2014)

                      ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผักจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี และราชบุรี เมื่อ

               พิจารณาจากการสัมภาษณ์ระดับการยอมรับความเสี่ยงในการจัดการศัตรูพืชจากสเกล 0 ถึง 10 โดย 0
               หมายถึง ไม่ยินดีเสี่ยง และ 10 หมายถึง ยินดีเสี่ยงอย่างเต็มที่ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่

               มีระดับการยอมรับความเสี่ยงในช่วงกลางมากที่สุด (ระดับ 5) และเกษตรกรมักเป็นผู้กลัวความเสี่ยง (ระดับ 0)
               (ภาพที่ 6.1) เมื่อจัดช่วงกลุ่มทัศนคติด้านความเสี่ยง พบว่า ระดับความเสี่ยง 5-6 เป็นระดับการยอมรับความ

               เสี่ยงที่เกษตรตัวอย่างยอมรับสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 35.31  รองลงมา คือ ระดับความเสี่ยง 0  (ไม่ยินดีเสี่ยง)

               ต่อมาเป็นความเสี่ยงระดับ 1-2  คิดเป็นร้อยละ 17.82  ความเสี่ยงระดับ 3-4  ร้อยละ 10.23  และระดับการ
               ยอมรับความเสี่ยง 7-8  และ 9-10  ร้อยละ 7.59  (ตารางที่ 6.1)  จากการลงพื้นที่ส ารวจภาคสนาม พบว่า

               เกษตรกรตัวอย่างจะมีความกลัวการสูญเสียผลผลิต หากมีการระบาดของโรคแมลงเกษตรกรจะพิจารณาใน
               การฉีดพ่นสารก าจัดศัตรูพืชทันที และโดยส่วนใหญ่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการจัดการศัตรูพืชจะมีทัศนคติใน

               การยอมรับความเสี่ยงต่ ากว่าเกษตรกรที่จัดการศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของปัทมา



                                                           59
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79