Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5.5 สรุปท้ายบท
สถานภาพข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52 ปี มีการศึกษา
เฉลี่ย 6.14 ปีหรือระดับประถมศึกษา ครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างโดยส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนขนาดเล็ก มี
สมาชิกในครัวเรือนจ านวน 1-4 คน และมีจ านวนสมาชิกที่อยู่ในวัยแรงงานประกอบอาชีพการเกษตรเฉลี่ย 2
คนต่อครัวเรือน แต่ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปลูกพืชผักเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป เกษตรกรตัวอย่างมี
พื้นที่การท าการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 7.46 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ปลูกผัก ร้อยละ 39.11 หรือมี
พื้นที่ในการเพาะปลูกผักเฉลี่ยจ านวน 3.01 ไร่ต่อครัวเรือน ในปีการผลิต 2558/59 ครัวเรือนตัวอย่างมีการ
ปลูกพืชผักจ านวนทั้งสิ้น 33 ชนิด โดยจังหวัดนครปฐมมีการเพาะปลูกกะเพรามากที่สุด รองลงมาเป็นกระชาย
และคะน้า จังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกถั่วฝักยาว รองลงมาคือ ตะไคร้ พริก และข้าวโพดหวาน
และจังหวัดราชบุรีมีการเพาะปลูกถั่วฝักยาวมากที่สุด เช่นเดียวกับจังหวัดปทุมธานี รองลงมาคือ แตงกวา และ
มะเขือเปราะ
ส าหรับการจัดการศัตรูพืชของครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่ อาศัยสารเคมีก าจัดศัตรูพืชเป็น
หลัก (ร้อยละ 86) ในขณะที่ มีครัวเรือนเกษตรกรบางส่วนเลือกการจัดการศัตรูพืชแบบอินทรีย์โดยไม่มีการใช้
สารเคมีก าจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 14) โดยการควบคุมและจัดการศัตรูพืชที่ไม่ใช้สารเคมีมีหลากหลายวิธี ได้แก่
การปรับสภาพแวดล้อมในการปลูก เช่น การท าความสะอาดแปลงด้วยการพรวนดิน และตากดิน และวิธีการ
ปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วิธีการปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติ หรือตัวห้ า ตัวเบียน ลงในแปลงเป็น
วิธีที่เกษตรกรมีการใช้ไม่กว้างขวาง แต่เป็นวิธีการที่เกษตรกรสนใจจะน ามาใช้ในการควบคุมและจัดการศัตรูพืช
ในอนาคตมากขึ้น
ครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผักส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตัวในการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง
แต่ยังพบเกษตรกรมีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องหลายด้าน เช่น เกษตรกรมีการน าสารเคมีหลายๆชนิดผสมเข้า
ด้วยกันในการฉีดพ่นเพื่อความรวดเร็วโดยไม่ค านึงถึงผลกระทบ เกษตรกรมักเลือกประเภทของสารเคมีที่ฉีดพ่น
โดยสอบถามจากร้านค้าเป็นหลัก และเกษตรกรมักไม่นิยมฝังกลบผลิตภัณฑ์สารเคมีเกษตรกรหลังจากใช้งาน
เป็นต้น โดยปัญหาทางสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในพื้นที่ ได้แก่ ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ อากาศเป็นพิษ การปนเปื้อน
ในแหล่งน้ า ปัญหาพืชและสัตว์ในพื้นที่มีจ านวนลดลง และแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวห้ า ตัวเบียน มีจ านวน
ลดลง เป็นต้น ในขณะที่เกษตรกรโดยส่วนใหญ่ทราบถึงผลกระทบของสารเคมีก าจัดศัตรูพืชที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
แต่ยังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสารเคมีอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้หลากหลาย ท าให้เกษตรกรใช้
สารเคมีจ านวนมากโดยขาดความตระหนักและความส าคัญถึงผลกระทบด้านนี้ ซึ่งในบทต่อไปจะศึกษาถึง
ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกร และความเต็มใจจ่ายของเกษตรกรต่อแนวทางเลือกในการจัดการศัตรูพืช
58