Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการจัดการศัตรูพืชโดยการใช้สารเคมี ความรู้เรื่องผลกระทบจากการใช้สารเคมี ราคาของผลผลิต ไปจนถึง
รายได้ภาคการเกษตรจากการปลูกพืชผัก แล้วจึงวิเคราะห์หาสมการที่ดีที่สุด
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกในจังหวัดนครปฐม
ปทุมธานี และราชบุรี ปีการผลิต 2558/59 พบว่า ค่าใช้จ่ายในการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Cost)
มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันการระดับการยอมรับความเสี่ยง แสดงว่า เกษตรกรตัวอย่างที่มีการจัดการ
ศัตรูพืชโดยชีววิธีสูง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับการยอมรับความเสี่ยงที่สูง ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายในการจัดการ
ศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี (Chemical Cost) มีทิศทางเป็นลบ ชี้ให้เห็นว่า เกษตรกรที่มีการจัดการศัตรูพืชโดยใช้
สารเคมีที่สูง เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับการยอมรับความเสี่ยงต่ า แต่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ สาเหตุส่วนหนึ่ง
เกิดจากช่วงเวลาที่ลงส ารวจภาคสนามของเกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกผัก ในปีการผลิต 2558/59 พบว่า เกิด
ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลปริมาณน้ าใน 4 เขื่อนหลักของประเทศ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์
เขื่อนปุาสัก-ชลสิทธิ์ และเขื่อนแควน้ าบ ารุงแดน ที่มีปริมาณน้ าต่ ากว่าปกติ หรือมีปริมาณน้ าเพียง 3,489 ล้าน
ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 19 ของระดับความจุปกติ) ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงในรอบ 20 ปี หรือ
เทียบเท่ากับภัยแล้งในปี พ.ศ. 2537 โดยเป็นผลมาจากปรากฎการณ์ เอลนินโญ ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.
2557 และมีความรุนแรงขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2558 (กรมชลประทาน, 2559) ดังนั้น การฉีดพ่นสารเคมีไม่
สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต
นอกจากนั้น ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความสัมพันธ์กับระดับการยอมรับความเสี่ยง ได้แก่
การพูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการศัตรูพืชกับบุคคลในครอบครัว (Family) โดยเกษตรกร
ที่มีความถี่ หรือความสม่ าเสมอในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และถ่ายทอดความรู้กับบุคคลใน
ครอบครัวเรื่องการจัดการศัตรูพืช มีระดับการยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น แสดงว่า การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
หรือความอบอุ่นในครัวเรือน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส าคัญต่อการเพิ่มความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของ
เกษตรกรได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการจัดการศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี (Practice) มีอิทธิพล
ต่อทัศคติด้านความเสี่ยงในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เกษตรกรที่มีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง มีทัศนคติในการ
ยอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น พร้อมทั้งเกษตรกรที่รู้จักหรือรับรู้ วิธีการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีชีววิธี (Know) ท าให้
มีทัศนคติที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้นเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส าคัญต่อการเพิ่มความสามารถในการ
ยอมรับความเสี่ยงของเกษตรกรได้อย่างดียิ่ง (ตารางที่ 6.7)
เมื่อพิจารณาถึงการยอมรับความเสี่ยงของเกษตรกรตัวอย่างด้วยแบบจ าลองโลจิท โดยแบ่งเกษตรกร
ตัวอย่าง เป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรที่ชอบความเสี่ยง (Y=1) และเกษตรกรที่กลัวความเสี่ยง (Y=0) พบว่า ให้ผล
การศึกษาสอดคล้องกันกับผลการศึกษาแบบจ าลองเชิงเส้นทุกประการ กล่าวคือ เมื่อเกษตรกรมีการจัดการ
ศัตรูพืชโดยชีววิธี (Biological Cost) ท าให้มีโอกาสยอมรับเสี่ยงสูงขึ้น อีกทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน
การจัดการศัตรูพืชของเกษตรกรกับสมาชิกในครัวเรือน (Family) ท าให้เกษตรกรมีโอกาสในการยอมรับความ
เสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการจัดการศัตรูพืชโดยใช้สารเคมี (Practice) และการรู้จัก
หรือรับรู้วิธีการจัดการศัตรูพืชโดยชีววิธี (Know) มีโอกาสในการยอมรับความเสี่ยงสูงขึ้นเช่นกัน (ตารางที่ 6.7)
66