Page 82 -
P. 82
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อพิจารณา ค่า R-squared ที่ได้ในทั้งสองสมการมีค่าใกล้เคียงกัน เท่ากับ ร้อยละ 12 ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าปัจจัยอิสระที่น ามาพิจารณาในแบบจ าลองมีค่าต่ า และอาจมีปัจจัยอิสระอื่นๆ ที่ยังไม่ได้น ามาพิจารณา
ในแบบจ าลอง อย่างไรก็ตาม ค่าสถิติของแบบจ าลองได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยอิสระทั้งหมดที่น ามาพิจารณานี้
สามารถอธิบายตัวแปรตามได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ กล่าวคือ ในแบบจ าลองก าลังสองน้อยที่สุด (Ordinary
Least Squre: OLS) ค่าสถิติ F มีค่าเท่ากับ 8.70 ซึ่งมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 99 และ
ในแบบจ าลอง Logit ค่าสถิติ LR Chi-squared มีค่าเท่ากับ 32.48 ซึ่งมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 99
ส าหรับงานวิจัยด้านทัศนคติด้านความเสี่ยงในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจ ากัด โดยงานวิจัยส่วนใหญ่จะ
มุ่งศึกษาเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มเกษตรกรตามทัศนคติด้านความเสี่ยง ในต่างประเทศ งานวิจัยด้านทัศนคติด้าน
ความเสี่ยงเป็นการน าเกมส์ล็อตเตอรี่ไปให้เกษตรกรเล่นเกมส์เพื่อทดสอบพฤติกรรมการด้านความเสี่ยง (risk
experiment) ต่อการสูญเสียผลผลิต (Tanaka, Camerer, and Nguyen, 2010; Liu and Huang. 2013)
ซึ่งพบว่า เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืชสูงโดยส่วนใหญ่เป็นผู้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการสูญเสียผลผลิต
(Risk Averse) โดยเกรงกลัวว่าจะเกิดความเสียหายต่อผลผลิตจึงฉีดพ่นสารเคมีก าจัดศัตรูพืชเป็นจ านวนมาก
ในประเทศไทย ผลการศึกษายืนยันการค้นพบของงานวิจัยที่ผ่านมา (Praneetvatakul, Schreinemachers
and Laitae, 2015) และงานศึกษาชิ้นล่าสุดโดย ปัทมา เมี่ยงมุกข์, 2558 ซึ่งศึกษาการใช้สารเคมีก าจัดศัตรูพืช
ของเกษตรกรไทย และล่าสุด Liebehehm (2014) ได้ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ทัศนคติด้านความเสี่ยงของ
เกษตรกรด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรงให้ประเมินระดับการยอมรับความเสี่ยงของตนเองผ่านสเกล 0
ถึง 10 ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากผลการวิเคราะห์ด้วยเกมส์ล็อตเตอรี่
ในประเทศไทยงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติด้านความเสี่ยงมีอยู่จ ากัด ใน
ต่างประเทศการศึกษาปัจจัยที่ผลต่อทัศนคติด้านความเสี่ยง จัดแบ่งปัจจัยเหล่านี้ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยร่วมที่อาจเกิดจากปัจจัยภายนอก (Liu and Huang. 2013) นอกจากนั้น งานวิจัย
ในต่างประเทศพยายามพิจารณาปัจจัยเชิงนโยบายมาเป็นตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้าน
ความเสี่ยง (Liebehehm, 2014) ดังนั้น งานวิจัยชิ้นต่อไปในอนาคต ควรพิจารณาถึงแนวทางการปรับเปลี่ยน
ทัศนคติด้านความเสี่ยงของเกษตรกรในระยะยาวจะเกิดประโยชน์มากขึ้น เนื่องจาก หากเกษตรกรมีการ
ปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านความเสี่ยงให้กล้าเสี่ยงมากขึ้น จะส่งผลให้มีการใช้ทางเลือกอื่นที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมในการจัดการศัตรูพืชมากขึ้น และจะส่งผลให้ลดการพึ่งพาสารเคมีก าจัดศัตรูพืชได้ ก่อให้เกิดผลดี
ต่อสังคมในภาพรวมต่อไป
67