Page 268 -
P. 268

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                          ทรัพยากรมาก นอกจากนี้ จําเป็นต้องมีแผนประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ภาคการ

                          บริโภคเห็นความสําคัญของมาตรฐานการรับรองหรือเครื่องมือการตลาดเหล่านี้  ในกรณีที่
                          สามารถหาเครื่องมือทางการตลาดมาช่วยเพิ่มอํานาจการต่อรองได้แล้ว ประเด็นสําคัญต่อมา คือ

                          การควบคุมดูแลคุณภาพของผลผลิต การแปรรูป รวมถึงการบริการที่เกิดขึ้นจากเกษตรกรหรือผู้

                          แปรรูปหลายๆ กลุ่มในพื้นที่ เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือต่อไป
                       2) ในพื้นที่ที่ความสูงจากระดับน้ําทะเลไม่มากพอ หรือหาพืชที่ใช้จุดเด่นของพื้นที่ได้ยาก พืชที่ปลูกมี

                          โอกาสที่จะหาผลผลิตจากที่อื่นทดแทนได้ง่าย ดังในกรณีของบ้านสบเป็ด บ้านแม่จริม บ้านโป่งคํา
                          ปัญหาการขาดอํานาจต่อรองของเกษตรกรมาจากสินค้าขาดความพิเศษเมื่อเทียบกับผลผลิตจาก

                          ที่ราบอื่นๆ ที่เข้าถึงง่ายกว่า การสนับสนุนสามารถเป็นไปได้ 2 วิธี คือ 1)  การพัฒนาคุณภาพ

                          สินค้าเพื่อเจาะตลาดคุณภาพสูงหรือตลาดพรีเมี่ยมและช่วยให้ผลตอบแทนต่อไร่ของเกษตรกรมี
                          มากพอ และ 2)  หากลุ่มลูกค้าหรือเครื่องมือทางการตลาดที่ให้คุณค่าเฉพาะกับพื้นที่ เรื่องราว

                          กระบวนการพัฒนาในพื้นที่ต้นน้ําอย่างยั่งยืนหรือการแสดงให้เห็นว่าชุมชนช่วยปกป้องพื้นที่ต้นน้ํา
                          สามารถสร้างคุณค่าเฉพาะให้สินค้าต่างๆ ที่ผลิตจากพื้นที่ได้ วิธีนี้นอกจากจะไม่ต้องยึดกับสินค้า

                          ชนิดเดียวแล้ว เกษตรกรสามารถกระจายความเสี่ยงสู่การผลิตสินค้าและบริการอย่างอื่นด้วย

                            สําหรับวิธีสร้างคุณภาพเพื่อเจาะตลาดคุณภาพสูง นอกจากความจําเป็นที่ต้องได้รับการ
                          ถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพอย่างถูกต้องและการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อให้ได้ปริมาณ

                          เพียงพอแล้ว ชุมชนจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนากระบวนการการตรวจสอบใน

                          ชุมชนเองก่อนส่งสินค้าสู่ตลาดควบคู่ไปด้วย เพื่อลดภาระต้นทุนการตรวจสอบ และต้องเป็นตลาด
                          ที่ยอมรับการตรวจรับรองของชุมชนและให้ความสําคัญกับความแตกต่างในคุณภาพสินค้าเพื่อให้

                          ชุมชนมีส่วนแบ่งในมูลค่าเพิ่ม เกษตรกรไม่ควรเผชิญปัญหาว่าผลิตสินค้าคุณภาพสูงแต่กลับได้
                          ราคารับซื้อเท่ากับสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ดี เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่สูงส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์ในพื้นที่

                          ทํากิน การช่วยเหลือที่สําคัญลําดับต้นๆ คือหาจุดยอมรับร่วมกันเรื่องสิทธิในการใช้พื้นที่

                          เนื่องจากประเด็นนี้อาจมีผลในกําหนดว่าเกษตรกรจะสามารถได้รับการรับรองคุณภาพสินค้าได้
                          หรือไม่

                            สําหรับวิธีการหาตลาดที่ให้คุณค่าเฉพาะกับพื้นที่ที่มีคุณค่าเชิงนิเวศสูงหรือเครื่องมือ
                          การตลาดที่สะท้อนคุณค่าเหล่านี้ จําเป็นที่ชุมชนจะต้องมีการพัฒนากลไกที่จะควบคุม กํากับดูแล

                          คุณภาพของสินค้าและบริการในพื้นที่ที่อาจมาจากผู้ผลิตหลากหลายกลุ่ม เพื่อรักษาความ

                          น่าเชื่อถือในระยะยาว ภาครัฐหรือองค์กรภายนอกสามารถมีบทบาทสําคัญในการให้ความ
                          ช่วยเหลือด้านการหาเครื่องมือการตลาดหรือตลาดที่ให้คุณค่าเฉพาะ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติ

                          ตามขั้นตอนเพื่อให้ได้การรับรอง


               9.3 ข้อจํากัด





                                                           9-34
   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273