Page 269 -
P. 269
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการพยายามเปรียบเทียบผลของรูปแบบธุรกิจที่ต่างกันผลฐานของระบบเกษตรกรรมเดียวกัน เพื่อแยก
ให้เห็นผลของรูปแบบธุรกิจให้ชัดเจนขึ้นนั้น ผู้วิจัยพบว่า ในบางพื้นที่สํารวจ เกษตรกรที่อยู่รูปแบบเกษตรกรรม
เดียวกันจะอยู่ในรูปแบบธุรกิจแบบเดียวกันเกือบทั้งหมด ทําให้การพยายามเปรียบเทียบผลของรูปแบบธุรกิจที่
ต่างกันบนฐานระบบเกษตรกรรมหรือพืชชนิดเดียวกันไม่สามารถทําได้ และต้องใช้วิธีการเปรียบเทียบบนฐาน
ของรูปแบบเกษตรกรรมที่คล้ายกันแทน นอกจากนี้ การศึกษารูปแบบธุรกิจพันธะสัญญาในงานวิจัยนี้อยู่บน
ฐานเกษตรกรรมการปลูกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีปริมาณมากในขนาดพื้นที่จํากัด ไม่ได้ศึกษา
กลไกของเกษตรพันธะสัญญาที่มารองรับระบบเกษตรกรรมอื่นด้วย การศึกษาเกี่ยวกับกลไกของรูปแบบธุรกิจนี้
กับความยั่งยืนของพื้นที่จะชัดเจนยิ่งขึ้นหากสามารถเปรียบเทียบข้ามรูปแบบเกษตรกรรมอื่นได้ด้วย
ในงานวิจัยต่อยอด อาจจะเจาะลึกมากขึ้นในพื้นที่สํารวจที่มีรูปแบบเกษตรกรรมและบริบทพื้นที่ที่ไม่
ต่างกันมากนักแต่มีลักษณะรูปแบบธุรกิจหรือกลไกที่ใช้ในการตกลงซื้อขาย การแบ่งภาระความเสี่ยง การเป็น
เจ้าของ การแบ่งปันผลประโยชน์ ที่หลากหลากมากพอ และมีขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่กว่านี้ เพื่อให้เห็น
ความสัมพันธ์ของกลไกในรูปแบบธุรกิจ เช่น การประกันราคา ประกันปริมาณ การช่วยเหลือเรื่องปัจจัยการผลิต
ความรู้ การแบ่งปันผลประโยชน์ การมีส่วนร่วม ต่อความยั่งยืนได้ชัดเจนยิ่งกว่านี้ นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับนี้
เน้นการศึกษาด้านอุปทาน (supply side) เป็นหลัก การศึกษาเพิ่มเติมด้านอุปสงค์ (demand side) ผ่านการ
พิจารณาตามห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) จะทําให้เห็นช่องว่างระหว่างภาคการผลิตและการบริโภคได้อย่าง
ชัดเจน และผลการศึกษาจะสามารถนําไปสู่ข้อเสนอแนะหรือการผลักดันนโยบายในฟากของผู้ใช้หรือบริโภค
สินค้าที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนของพื้นที่สูงได้
9-35