Page 152 -
P. 152
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรในหมู่บ้านแม่จริมและโป่งคําที่ปลูกพืชในโรงเรือนและรวมกลุ่มขาย
ผลผลิตภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยายผลฯ มีรายได้สุทธิต่อไร่ต่ํากว่าเกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ใน
ระบบพันธะสัญญา แต่รายได้รวมไม่ต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้ เกษตรกรที่ปลูกพืชโรงเรือนมีการ
กระจายของกระแสรายได้ที่ดีกว่ามาก ส่วนในรายหมู่บ้านพบว่า บ้านแม่จริมและบ้านโป่งคําไม่ได้มีความ
แตกต่างกันในแง่ของรายได้และการกระจาย แต่เกษตรกรในบ้านโป่งคํามีความสุขด้านการเงินมากกว่า
เกษตรกรในบ้านแม่จริม (เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ ให้เหมือนกัน) นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรที่มีการศึกษาสูง
หรือมีสัดส่วนที่ชันมากจะมีรายได้ต่อไร่และระดับความสุขทางการเงินมากขึ้นด้วย
ตารางที่ 6.6 สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และตัวแปรทางเศรษฐกิจของเกษตรกรใน
หมู่บ้านแม่จริมและโป่งคํา
ก
NET_INC TOTAL_INC SID HAP_FINANCE
GENERATION 5,277.60
EDUCATION 1,963.62 ** 2,622.85 0.02 ** 0.25 **
AGRI_LABOR -9,913.26
AREA 894.06
HIGHLAND 36,037.44 ** 40,387.51 3.38 *
LAND_RIGHT 15,591.81
IRRIGATION 6,241.92
YEAR -1,481.37
AREA_MAJOR -4,938.39
LAND_DIVERSE 25,283.68
GS -32,582.20 *** -58,911.43 0.24 ***
V3 -40,259.24 -3.00 ***
C 15,669.48 82,650.09 0.35 *** 2.14
Observations 35 35 35 35
Adjusted R-squared 0.39 -0.14 0.23 0.26
Prob(F-statistic) 0.00 0.77 0.01 0.01
หมายเหตุ *,**,*** หมายถึงค่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ 0.10, 0.05, 0.01 ตามลําดับ
ก
หมายถึง สมการที่ประมาณได้ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ หรือสมการไม่สามารถอธิบายตัวแปรตามได้
ในด้านสังคม พบว่าเกษตรกรที่รวมกลุ่มอยู่ภายใต้การสนับสนุนของโครงการขยายผลฯ มีตัวแปรทาง
สังคมที่ดีกว่าเกษตรกรที่อยู่ในระบบพันธะสัญญาอย่างชัดเจน โดยมีอัตราการพึ่งพิง (หนี้สินต่อต้นทุน) หนี้สิน
และสัดส่วนหนี้นอกระบบต่ํากว่า และมีความสุขโดยรวมสูงกว่า ส่วนความแตกต่างระหว่างหมู่บ้านไม่มีผลต่อ
ตัวแปรทางสังคมอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรที่มีสัดส่วนพื้นที่ชันมากจะมีสัดส่วนหนี้ทั้งใน
และนอกระบบสูงขึ้น
ตารางที่ 6.7 สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และตัวแปรทางสังคมของเกษตรกรในหมู่บ้าน
แม่จริมและโป่งคํา
6-12