Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
LANDUSE_ CHEM_ WATER_ CHEM ORGANIC PEST HERB
ก
CHANGE CHANGE PROBLEM
IRRIGATION 0.96
YEAR -0.02 * -0.01 -0.04 **
AREA_MAJOR -4.00 * -0.01 -0.08 ***
LAND_DIVERSE -0.71 *** 210.44 *** -0.24
V1 -0.57 *** 0.81 *** -0.16 * 125.69 *** -0.25 1.46 ***
EX -0.66 ** 74.83 * -0.08 -0.88 **
C 1.42 *** 2.47 *** 3.10 *** 124.12 *** -12.83 1.90 2.80 ***
Observations 48 48 48 48 48 48 48
Adjusted R-squared 0.19 0.62 0.15 0.45 0.47 -0.24 0.50
Prob(F-statistic) 0.00 0.00 0.01 0.00 0.00 0.93 0.00
*, **, *** หมายถึง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1, 0.05, และ 0.01 ตามลําดับ
ก
หมายถึง สมการที่ประมาณได้ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ หรือสมการไม่สามารถอธิบายตัวแปรตามได้
6.1.2 เกษตรกรในหมู่บ้านแม่จริม
จากการสํารวจเกษตรกรในหมู่บ้านแม่จริมพบว่าสามารถแบ่งเกษตรกรที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้เป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ในลักษณะพันธะสัญญาและกลุ่มที่ปลูกพืชผสมผสานในระบบโรงเรือน โดยพบว่ามี
ความแตกต่างที่น่าสนใจดังนี้
- ในแง่ของลักษณะเกษตรกรพบว่า เกษตรกรที่ทําการปลูกพืชในโรงเรือนมีแรงงานภาคเกษตรน้อย
กว่าแต่มีพื้นที่ทํากินมากกว่าอย่างมีนัยสําคัญ การที่เกษตรกรมีแรงงานน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่
อาจจะเป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชโรงเรือนซึ่งใช้พื้นที่ในการปลูกจริงน้อย
และมีการทําสลับผสมผสานไปทั้งปี ในเชิงพื้นที่พบว่า เกษตรกรในกลุ่มโรงเรือนมีสัดส่วนที่ดินที่
เป็นพื้นที่สูมากถึงร้อยละ 90 การที่มีพื้นที่ราบจํากัดเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทําให้เกษตรกรต้องปลูก
แบบโรงเรือนซึ่งใช้พื้นที่น้อย ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์อาจจะเหมาะกับพื้นที่ที่
มีสัดส่วนที่ราบมากกว่า
- เมื่อเปรียบเทียบระบบเกษตรพบว่า เกษตรกรที่ปลูกพืชผักในโรงเรือนมีสัดส่วนการปลูกพืชยืนต้น
ในพื้นที่ตนเองสูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากเกษตรกรต้องทุ่มเทแรงงานในการปลูกพืช
โรงเรือน ทําให้เกษตรกรเลือกที่จะปลูกพืชยืนต้นที่ต้องการการดูแลน้อยกว่าในพื้นที่อื่นๆ การ
ปลูกแบบผสมผสานดังกล่าวส่งผลให้การใช้พื้นที่มีความหลากหลายมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- ในแง่ของรูปแบบธุรกิจเกษตรพบว่า กลุ่มเกษตรกรโรงเรือนผลิตสินค้าเพื่อขายในตลาดที่มี
คุณภาพสูงกว่าสินค้าทั่วไป และเกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ มากกว่าเกษตรกรที่
ปลูกเมล็ดพันธุ์อย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่การปลูกเมล็ดพันธุ์จะมีการกําหนดปริมาณรับซื้อ
ล่วงหน้าชัดเจนมากกว่าอย่างมีนัยสําคัญ
- สําหรับตัวแปรด้านเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์มีรายได้ต่อไร่สูงกว่าอย่างมี
นัยสําคัญ แต่รายได้รวมไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากเกษตรกรกลุ่มที่ปลูกพืชโรงเรือน
6-9