Page 144 -
P. 144
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ในแง่ของลักษณะธุรกิจการเกษตร เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจมีการขายผลผลิตในตลาด
คุณภาพในสัดส่วนที่สูงกว่า และมีการตกลงราคาผลผลิตก่อนการขายในสัดส่วนที่สูงกว่าเช่นกัน
นอกจากนี้ กลุ่มยังมีบทบาทในการช่วยเหลือด้านความรู้ การต่อรอง การเงิน และการมีส่วนร่วม
มากกว่าการขายในตลาดดั้งเดิมอย่างมาก
- เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรด้านเศรษฐกิจพบว่า เกษตรกรในกลุ่มคุณภาพมีรายได้สุทธิต่อไร่จากการ
129
ขายมะม่วงสูงกว่ามาก เนื่องจากสามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงกว่าถึงประมาณ 3 เท่า โดย
เกษตรกรในกลุ่มคุณภาพมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงถึงกว่า 25,000 บาทต่อไร่ ในขณะที่เกษตรกรที่ขาย
ในตลาดดั้งเดิมมีรายได้ต่อไร่เพียงประมาณ 15,000 บาท ซึ่งทําให้เกษตรกรในกลุ่มคุณภาพมี
รายได้รวมสูงกว่าเกษตรกรในตลาดดั้งเดิมถึงเกือบเท่าตัว นอกจากนี้ เกษตรกรในกลุ่มคุณภาพยัง
มีความสุขด้านการเงินสูงกว่าเกษตรกรในตลาดดั้งเดิมด้วยเช่นกัน แต่ความแตกต่างระหว่าง
ความสุขด้านการเงินของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มนั้นไม่มีนัยสําคัญ
- สําหรับตัวแปรด้านสังคมพบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ
- สําหรับตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า เกษตรกรที่อยู่ภายใต้ระบบวิสาหกิจชุมชนส่งออกมะม่วงมี
การผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ที่ดีกว่า มีการลดการ
ใช้สารเคมีจากการเกษตรแบบเดิมมากกว่า มีการใช้สารเคมีและยาปราบวัชพืชในการปลูกน้อย
กว่าเกษตรกรที่ปลูกและขายในระบบธุรกิจแบบดั้งเดิม
ตารางที่ 6.1 ข้อมูลสถิติเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้ในบ้านป่ากลาง เปรียบเทียบระหว่างเกษตรกรที่
ขายในตลาดดั้งเดิมและกลุ่มวิสาหกิจส่งออก
รวม ดั้งเดิม กลุ่มส่งออก p-value
ลักษณะทั่วไปของเกษตรกรและพื้นที่
age 51.05 51.00 51.09 0.981
generation 1.95 2.00 1.91 0.807
education 6.41 4.09 8.73 0.007 ***
agri_labor 2.14 2.27 2.00 0.532
area 10.41 8.64 12.18 0.169
highland 0.50 0.48 0.52 0.793
land_right 0.55 0.45 0.64 0.416
irrigation 0.05 0.00 0.09 0.341
ลักษณะของการเกษตร
year 15.64 13.73 17.55 0.345
129 ราคาขายผลผลิตปีล่าสุดของเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจส่งออก 65 บาท/กก. ในขณะที่ราคาขายผลผลิตของเกษตรกรใน
ตลาดดั้งเดิมที่ 20 บาท/กก.
6-4