Page 142 -
P. 142
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากการศึกษาพบว่า โดยรวมแล้วสามารถแบ่งการดําเนินการแก้ไขปัญหาได้เป็นการดําเนินงาน
รายบุคคล เช่น การสร้างพันธะสัญญากับบริษัทรับซื้อ และการดําเนินงานภายใต้รวมกลุ่มซึ่งเกิดขึ้นในหลาย
ลักษณะ เช่น การรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิต หรือการรวมกลุ่มเพื่อขายโดยมีการพัฒนาคุณภาพผลผลิตหรือการ
แปรรูปผลผลิต ซึ่งการดําเนินงานในแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อจํากัดแตกต่างกันไป ในงานวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัย
แบ่งรูปแบบธุรกิจออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ รูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม การทําเกษตรพันธะสัญญา การรวมกลุ่ม
เพื่อขายผลผลิต การรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิตโดยมีการพัฒนาคุณภาพ (กลุ่มคุณภาพ) การรวมกลุ่มเพื่อการ
แปรรูปและขายสินค้า (กลุ่มแปรรูป) และการรวมกลุ่มเพื่อขายโดยมีการพัฒนาคุณภาพและการแปรรูปควบคู่
128
กันไป (กลุ่มแปรรูปคุณภาพ)
เนื้อหาในบทที่ 5 จะเป็นการแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากการวิจัยเพื่อแสดงให้เห็นถึงความ
แตกต่างของรูปแบบธุรกิจการเกษตรแบบต่างๆ ที่สามารถเข้ามาเป็นตัวเลือกแทนรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม
โดยจะใช้ข้อมูลทั้งจากการสํารวจรายครัวเรือนจากแบบสอบถามและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดย
วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติแบบง่ายๆ
และการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐมิติ แสดงให้เห็นถึง 1) ความแตกต่างของรูปแบบธุรกิจที่มีผลต่อ
ตัวแปรความยั่งยืน 2) ความเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่จําเป็นในรูปแบบธุรกิจต่างๆ 3) การ
เปรียบเทียบข้อดี ข้อจํากัด และองค์ประกอบที่จําเป็นของรูปแบบธุรกิจแบบต่างๆ และ 4) พลวัตของรูปแบบ
ธุรกิจการเกษตร
128 การแบ่งกลุ่มรูปแบบธุรกิจอาจแบ่งแบบ 2 ขั้นตอน ขั้นที่หนึ่งคือ แบ่งตามลักษณะการรวมกลุ่ม คือ รวมกลุ่มหรือไม่รวมกลุ่ม
แล้วจึงแบ่งต่อไปว่าตามลักษณะสินค้า คือ ขายแบบดั้งเดิมในตลาดทั่วไป ขายแบบพันธะสัญญา ขายสินค้าคุณภาพสูง หรือ
แปรรูปและคุณภาพ มณีพฤกษ์ สันเจริญ ไม่น่าเกิดได้ ขายสินค้าแปรรูป และขายสินค้าแปรรูปและเน้นคุณภาพ อย่างไรก็ดี
รูปแบบผลิตสินค้าเพื่อตลาดคุณภาพสูง รูปแบบผลิตสินค้าแปรรูป และรูปแบบผลิตสินค้าแปรรูปคุณภาพสูง เป็นรูปแบบที่มา
สามารถเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติหากไม่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นพื้นฐาน
6-2