Page 146 -
P. 146

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                       ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความยั่งยืนด้านต่างๆ กับตัวแปรต้นทั้งลักษณะเกษตรกร
                                                                                              131
                                              130
               ลักษณะการเกษตร และรูปแบบธุรกิจ  ของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงในบ้านป่ากลางและสบเป็ด  จํานวน 48
                                                               132
               ราย ได้เพิ่มตัวแปรหุ่นที่อธิบายกลุ่มวิสาหกิจส่งออก (EX) โดยให้เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจส่งออกมีค่า
               เท่ากับ 1 และเกษตรกรที่ไม่อยู่ในกลุ่มมีค่าเท่ากับ 0 และตัวแปรหุ่นสําหรับเกษตรกรบ้านสบเป็ด (V1)  โดย
               เกษตรกรที่อยู่บ้านสบเป็ดเท่ากับ 1 และเกษตรกรที่อยู่บ้านอื่นๆ เท่ากับ 0 ผลการศึกษาพบว่า

                       ในด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มวิสาหกิจส่งออกมีรายได้สุทธิต่อไร่สูงกว่าเกษตรกรนอกกลุ่มถึง
               ประมาณ 11,600 บาท/ไร่ แต่มีรายได้รวม การกระจายรายได้ และความสุขทางการเงินไม่ต่างกันอย่างมี

               นัยสําคัญ ทั้งนี้เนื่องมาจากเกษตรกรนอกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยพื้นที่ปลูกมะม่วงมากกว่าและมีการประกอบอาชีพเสริม

               มากกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากค่าสัมประสิทธิ์ของพื้นที่ปลูกมะม่วงที่แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรที่มีพื้นที่มากขึ้น
               จะมีรายได้สุทธิต่อไร่ลดลง แต่มีรายได้รวมสูงขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรที่มีการศึกษาสูงจะมีรายได้รวมสูงขึ้น แต่

               ไม่ส่งผลต่อรายได้สุทธิต่อไร่ และเกษตรกรที่มีการใช้ที่ดินที่มีความหลากหลายมากขึ้นจะมีการกระจายของ
               กระแสรายได้ที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ สัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรหมู่บ้านไม่มีนัยสําคัญทั้งหมด แสดงว่าความ

               แตกต่างระหว่างหมู่บ้านไม่ได้เป็นตัวกําหนดตัวแปรความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ


               ตารางที่ 6.2 สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ และตัวแปรทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูก

               มะม่วงน้ําดอกไม้ในบ้านสบเป็ดและบ้านป่ากลาง

                                        NET_INC          TOTAL_INC            SID          HAP_FINANCE

                AGE                                                           -0.01 *
                GENERATION              3,493.45 *                            -0.18 ***
                EDUCATION                                10,266.74 ***
                AGRI_LABOR



               130
                 ในการประมาณสมการสหสัมพันธ์แต่ละสมการ ผู้วิจัยหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างตัวแปรต้นทั้งหมด และ
               ตัดบางตัวแปรที่อาจจะมีปัญหา Multicollinearity ออก แล้วจึงประมาณสมการกับตัวแปรทั้งหมดที่เหลืออยู่ โดยแต่ละสมการได้มี
               การทดสอบปัญหา Heteroskedasticity ด้วย White Heteroskedasticity Test และในสมการที่มีปัญหาจะถูกแก้ด้วยวิธี
               White’s Heteroskedasticity consistent standard error and covariance หลักจากนั้นจะมีการทดสอบปัญหา
               Endogeniety ด้วย Durbin-Wu-Hausman test และสมการที่มีปัญหาดังกล่าวจะแก้ไขโดยการใช้ Instrument variable (IV)

               และการประมาณสมการโดยวิธี 2-Stage Least Square (2SLS)
               131
                 การประมาณสมการในส่วนนี้รวมข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ําดอกไม้ทั้งในบ้านสบเป็ดและป่ากลางเข้าด้วยกันเพื่อให้มี
               จํานวนตัวอย่างมากขึ้น และใช้ตัวแปรหุ่นเพื่อแยกผลของเกษตรกรคนละหมู่บ้านออกจากกัน
               132
                 การประมาณสมการสหสัมพันธ์รูปแบบธุรกิจการเกษตรในบทนี้ จะใช้ตัวแปรหุ่นแสดงความแตกต่างของรูปแบบธุรกิจการเกษตร
               โดยไม่แยกคุณลักษณะหรือกลไกด้านต่างๆ ของตลาดเช่น คุณภาพ การตกลงราคา การตกลงปริมาณ การมีส่วนร่วม ออกจากกัน
               เหมือนอย่างที่ทําในบทที่ 5 เนื่องจากเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมักจะอยู่ในลักษณะตลาดแบบเดียวกันทําให้ไม่สามารถ
               ประมาณสมการโดยแยกตัวแปรลักษณะตลาดออกมาได้ (มีปัญหา Collinearity ระหว่างตัวแปรลักษณะตลาดสูง)

                                                           6-6
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151