Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                     16-6




                 ตารางที่ 16-3 นโยบายน้ําภายหลังการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ

                     รัชสมัย/พ.ศ.                                 นโยบายน้ํา
                 รัชกาลที่ 5          (1)  จัดตั้งองคกรบริหารจัดการน้ํา โดยปรับปรุง “กรมนา” ขึ้นเปนกระทรวงเกษตรธิการ มีหนาที่เกี่ยวกับ
                 (พ.ศ. 2435 -            น้ํา และจัดตั้ง “กรมคลอง” เมื่อ พ.ศ. 2445
                 (ระยะที่ 2)          (2)  ประกาศใชกฎหมายในการรักษาคลอง
                                      (3)  เริ่มตนน้ําอุปโภค บริโภค โดยตั้งโรงสูบน้ําที่สําแลแลวขุดคลองประปายาว 25 กิโลเมตร มายังโรงกรอง
                                         น้ําสามเสน
                                      (4)  เริ่มตนการชลประทานของประเทศไทย
                                      (5)  เพื่อการคมนาคมโดยการขุดคลอง
                 รัชกาลที่ 6          (1)  เพื่อการอุปโภคบริโภค มีการเปดกิจการการประปากรุงเทพฯ ในป 2547
                 (พ.ศ. 2453-2468)     (2)  ประกาศใชกฎหมายคุมครองแหลงน้ํา
                                      (3)  เพื่อการเกษตร มีการกอสรางโครงการชลประทาน
                 รัชกาลที่ 7          (1)  เพื่อการเกษตร โดยการขยายโครงการชลประทาน
                 (พ.ศ. 2468-2477)     (2)  เพื่อการอุปโภคและบริโภค
                                      (3)  เปลี่ยนนาม “กรมทดน้ํา” เปน “กรมชลประทาน” เมื่อ พ.ศ. 2470

                 16.3 นโยบายน้ําไทยภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

                        นโยบายน้ําไทยในชวงระยะเวลาตั้งแตเดือนมิถุนายน พ.ศ.2475 ถึงเดือนตุลาคม 2503 ไดปรากฏ
                 ในคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีตอรัฐสภา รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี และมีการประกาศใชกฎหมายหลายฉบับ
                 มีสาระสําคัญ ดังนี้
                                                                                      1)
                               รัฐบาลที่เขามาบริหารประเทศตั้งแตคณะที่ 2 จนถึงคณะที่ 29  ไดมีนโยบายขยาย
                 โครงการชลประทานออกไปในภาคตางๆ เชน

                               โครงการชลประทานแมวัง (พ.ศ. 2476) โครงการชลประทานนครนายก (พ.ศ. 2476)
                 โครงการสามชุก (พ.ศ. 2478) โครงการชลประทานแมปงเกา (พ.ศ. 2480) โครงการชลประทานลุมน้ํา
                 ลําตะคองซึ่งกอสรางเขื่อนทดน้ํารวม 9 แหง ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2482 โครงการชลประทานทุงสัมฤทธิ์

                 (พ.ศ. 2482) โครงการชลประทานหวยเสนง (พ.ศ. 2482) โครงการชลประทานหวยน้ําหมาน (พ.ศ. 2482)
                 โครงการชลประทานหวยหลวง (พ.ศ. 2482) โครงการชลประทานเพชรบุรี (พ.ศ. 2484) เปนตน
                               พ.ศ. 2495 ไดมีการกอสรางเขื่อนทดน้ําเจาพระยาและเปดใชเมื่อ พ.ศ. 2500 หลังจากนั้น
                 คณะรัฐมนตรีไดมีมติใหกอสรางเขื่อนภูมิพลเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ 2495 ซึ่งเริ่มกอสรางใน พ.ศ. 2501
                 แลวเสร็จ พ.ศ. 2507

                               พ.ศ. 2496 ไดมีนโยบายการสรางการประปาขึ้นที่ จ.ลพบุรี และขยายไปยังจังหวัด
                 เชียงใหม ขอนแกน อุดรธานี ราชบุรี นครศรีธรรมราช และภูเก็ต ในพ.ศ. 2497
                               นอกจากนี้ในชวงเวลานี้ไดมีการประกาศใหพระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวของ 4 ฉบับ คือ

                                      (1) พระราชบัญญัติควบคุมการเหมืองฝายและพนัง พ.ศ. 2477
                                      (2) พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร พ.ศ. 2482
                                      (3) พระราชบัญญัติรักษาคลอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2483
                                      (4) พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485

                 ----------------------------------------------
                 1)  รัฐบาลคณะที่ 29 มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต เปนนายกรัฐมนตรี ตั้งแตวันที่ 9 กุมภาพันธ 2502 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ซึ่งเปนชวงที่คาบ
                  เกี่ยวระหวางกอนและหลังการประกาศใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20