Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
16-5
16.2 นโยบายน้ําไทยภายหลังการสถาปนากระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ. 2435-2475)
ในชวงเวลาตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2435 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2453 ยังคงอยูในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
มีนโยบายน้ําสรุปไดดังนี้
วันที่ 1 เมษายน 2435 ไดมีการปรับปรุง “กรมนา” ขึ้นเปนกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีหนาที่
เกี่ยวกับน้ํา ดังนี้
“มีนาที่จะตองวิดน้ําเขานา (เมื่อเวลาน้ํานอย) ขุดบึง,บาง,คลอง และไขนา (เมื่อน้ํามาก
เกินความตองการของการทํานา)”
ไดมีการจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการเมื่อพ.ศ. 2442 และมีการจัดตั้ง “กรมคลอง”
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2445
ไดมีการตราพระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ.121 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2445
วันที่ 13 กรกฎาคม 2452 ไดมีพระบรมราชโองการใหกรมสุขาภิบาลนําน้ํามาไวในพระนคร
โดยตั้งโรงสูบน้ําที่สําแลจังหวัดปทุมธานี แลวขุดคลองประปายาวประมาณ 25 กิโลเมตร สงน้ํามายังโรง
กรองน้ําสามเสน
นโยบายน้ําในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เปนการพัฒนาแหลงน้ําเพื่อการเกษตร โดยเริ่มตนการ
ชลประทานของประเทศไทย และการอุปโภค-บริโภค รวมทั้งการคมนาคม
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2453 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2468 อยูในรัชสมัยรัชกาลที่ 6
มีนโยบายน้ําสรุปไดดังนี้
วันที่ 17 กรกฎาคม 2457 มีการประกาศใชพระราชบัญญัติลักษณะปกครองทองที่
พ.ศ. 2457 บทบัญญัติมาตรา 117 กําหนดให รัฐปกปกรักษา หวย คลอง และลําน้ําตางๆ
มีการเปดกิจการการประปากรุงเทพฯ ในป 2457 ไดมีการกอสรางโครงการเชียงราก-
คลองดาน เพื่อทดน้ําในแมน้ําปาสักใหมีระดับสูงขึ้น มีการกอสรางโครงการโพธิ์พระยา รวมทั้งการเปดเขื่อน
พระรามหก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในป 2467
มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ “กรม คลอง” เปน “กรมทดน้ํา” ในป พ.ศ. 2457
นโยบายน้ําในรัชสมัยนี้เปนทั้งการพัฒนาเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
ในชวงเวลา เดือนพฤศจิกายน 2468 จนถึงเดือนมีนาคม 2477 อยูในรัชสมัยรัชกาลที่ 7
มีนโยบายน้ํากอนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน 2475 ดังนี้
มีการเปลี่ยนนาม”กรมทดน้ํา” เปน “กรมชลประทาน” เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2470 ซึ่ง
กรมชลประทานไดขยายการกอสรางโครงการชลประทานออกไปหลายภาค เชน โครงการชลประทานแมแฝก
จังหวัดเชียงใหม โครงการมะขามเฒา จังหวัดชัยนาท เปนตน
นโยบายน้ําไทยในชวงหลังการจัดตั้งกระทรวงเกษตรพนิชการ (พ.ศ. 2435-2475) เปน
การพัฒนาทั้งเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะการชลประทาน การอุปโภคบริโภคและการคมนาคม ดังรายละเอียด
ในตารางที่ 16-3